Accident (อุบัติเหตุ)
ภาพที่ 1 : อุบัติเหตุ Accident
คือ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสียหายและสร้างความบาดเจ็บ ส่วนใหญ่มักจะเกิดขึ้นกะทันหันไม่ทันได้ตั้งตัว และมักมีสาเหตุมาจากความประมาท เลินเล่อ หรือผู้ปฏิบัติงานขาดความรู้ความเข้าใจในหน้าที่และเครื่องจักรที่ใช้ เช่น
- อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร สภาพแวดล้อม ไม่ปลอดภัย (Hard ware)
- วิธีการทำงานไม่ปลอดภัย หรือ ไม่มีการกำหนดวิธีขั้นตอนการทำงาน (Soft ware)
- ผู้ปฏิบัติงานมีพฤติกรรมเสี่ยง ประมาท สภาพร่างกายไม่พร้อมปฏิบัติงาน (Hunman ware)
สาเหตุของการนำไปสู่การเกิดอุบัติเหตุ Accident
Unsafe Conditions (สภาพที่ทำงานที่ไม่ปลอดภัย)
ภาพที่ 2 : สภาพการทำงานไม่ปลอดภัย Unsafe Conditions
เป็นการกระทำที่ไม่ปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงานในขณะทำงาน เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิด อุบัติเหตุ 10% ซึ่งเป็นสิ่งที่อยู่รอบๆ ตัวเรา เช่น
- เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ชำรุด ขาดการซ่อมแซมบำรุงรักษา
- การวางผังโรงงานที่ไม่ถูกต้อง ความไม่เป็นระเบียบเรียบร้อยและสกปรกในการจัดเก็บวัสดุ
- สิ่งแวดล้อมในการทำงานไม่ดี เช่น แสงสว่างไม่เพียงพอ ระบบไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุดบกพร่อง
Unsafe Acts (การกระทำที่ไม่ปลอดภัย)
ภาพที่ 3 : การกระทำที่ไม่ปลอดภัย Unsafe Acts
สภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัยโดยรอบตัวของผู้ปฏิบัติงานขณะทำงาน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้เกิด อุบัติเหตุ ถึง 88% เนื่องจากเกิดจากสิ่งที่เราเป็นคนทำ เช่น
- บริเวณพื้นที่ของการปฏิบัติงานไม่เหมาะสม
- การจัดเก็บวัสดุสิ่งของอย่างไม่ถูกวิธี
- เครื่องจักรไม่มีอุปกรณ์ป้องกันอันตราย
- การปฏิบัติงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน้าที่
- การหยอกล้อ และเล่นกันในขณะที่กำลังปฏิบัติหน้าที่
- ไม่สวมอุปกรณ์เซฟตี้ในขณะปฏิบัติหน้าที่
- ไม่รายงานอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในที่ทำงาน
Natural Disaster (ภัยธรรมชาติ)
เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ 2% เช่น
- ฟ้าผ่า
- แผ่นดินไหว
- น้ำท่วม เป็นต้น
จากสาเหตุของการเกิด อุบัติเหตุ 3 สาเหตุ ที่กล่าวมาข้างต้น เราคงพอเข้าใจกันแล้วว่า อุบัติเหตุ เกิดจากอะไร แต่ตัวการสำคัญที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ คือ คน หรือการกระทำที่ไม่ปลอดภัยนั่นเอง เมื่อมีอุบัติเหตุจากการทำงานเกิดขึ้น มักพบว่าสาเหตุที่ทำให้อุบัติเหตุเกิดขึ้น คือ การไม่ปฏิบัติงานตามขั้นตอนที่กำหนดไว้ หรือพนักงานที่มีอายุงานมาก มักปฏิบัติงานด้วยความประมาท คิดว่าชำนาญแล้ว จึงไม่ระมัดระวัง ส่งผลให้เกิดอุบัติเหตุขึ้น
Incident (อุบัติการณ์)
ภาพที่ 4 : อุบัติการณ์ Incident
คือ เหตุการณ์ที่อาจก่อให้เกิดการบาดเจ็บหรือเกิดความเสียหาย แต่อาจจะไม่ส่งผลให้เกิดอันตรายต่างๆ เช่น รถลื่นไถลบนถนนเปียกหรือคนงานลื่นบนพื้นเปียก เหตุการณ์อาจเกิดจากสภาวะที่ไม่ปลอดภัยหรือพฤติกรรมที่ไม่ระมัดระวัง แม้จะไม่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ แต่ก็ยังสามารถเป็นสัญญาณเตือนว่าอาจเกิดสิ่งร้ายแรงขึ้นได้หากไม่แก้ไขสถานการณ์ เช่น
- ลื่นบนพื้นที่เปียก
- การหล่นของสิ่งของจากที่สูง
- รถลื่นไถลบนถนนที่เปียก
- พนักงานที่เข้าไปในพื้นที่อันตรายโดยไม่มีอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม
Near Miss
(เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ)
ภาพที่ 5 : เหตุการณ์เกือบเกิดอุบัติเหตุ Near Miss
คือ เหตุการณ์ที่เกือบจะทำให้ได้รับบาดเจ็บ หรือเกือบเกิดความเสียหาย แต่เหตุการณ์นั้นไม่ได้เกิดขึ้นจริงๆ เพราะสามารถแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ทันท่วงที หรืออาจจะเป็นเพราะโชคช่วยก็ได้ เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรมีการรายงานเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุเพื่อระบุความเสี่ยง และหาวิธีการป้องกันเพื่อไม่เกิดอุบัติเหตุในอนาคต เช่น
- สะดุดกล่องและตั้งหลักได้ก่อนที่จะล้มลง
- รถยก Forklift เกือบชนแต่เบรกได้ทัน
- เกือบเดินตกจากที่สูงแต่เพื่อนมาดึงตัวไว้ได้ทัน
ภาพที่ 6 : ความแตกต่างของเหตุการณ์อันตราย
3 วิธีการป้องกันและควบคุมสาเหตุของอันตราย
มาตราการป้องกันอุบัติเหตุแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกัน
1. การป้องกันที่เครื่องจักรหรือแหล่งกำเนิด (Source) เป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้แก่เจ้าหน้าที่และพนักงานในจุดที่อาจจะเกิดอันตรายได้ตั้งแต่ต้น เช่น สร้างที่กันบังครอบส่วนที่เป็นอันตรายหรืออาจจะเกิดอุบัติเหตุ พร้อมทั้งดูแลรักษาและตรวจสอบคุณภาพของเครื่องจักรและอุปกรณ์อยู่เสมอ
2. การป้องกันที่ทางสื่อหรือทางผ่าน (Path) เป็นการแบ่งพื้นที่ระหว่างพื้นที่อันตรายและพื้นที่ปลอดภัยอย่างชัดเจน ทำให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าบริเวณใดจำเป็นต้องสวมอุปกรณ์เซฟตี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุ โดยการป้องกันทางผ่านรวมไปถึงการดูแลรักษาความสะอาดของสถานที่ทำงานด้วย
3. การป้องกันที่ผู้ปฏิบัติงาน (Receiver) เป็นการเพิ่มความปลอดภัยโดยจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากตัวบุคคล เช่น การสวมใส่คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ในระหว่างที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง การปฏิบัติตามกฎเกณฑ์มาตรฐานรักษาความปลอดภัยที่ทางองค์กรอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัยของตนเองและผู้อื่น
สิ่งสำคัญคือต้องตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างอุบัติเหตุ อุบัติการณ์ และเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุ เพื่อให้เราสามารถดำเนินการเพื่อป้องกันสถานการณ์ในลักษณะเดียวกันนี้ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต การรายงานเหตุการณ์ที่เกือบจะเกิดอุบัติเหตุเป็นสิ่งสำคัญในการเรียนรู้จากสถานการณ์และตรวจสอบให้แน่ใจว่าอุบัติเหตุจะไม่เกิดขึ้นอีกในอนาคต
ดังนั้นเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน ผู้ปฏิบัติงานรวมถึงหัวหน้างานต้องมีส่วนร่วมในการทำให้อุบัติเหตุนั้นเป็นศูนย์ โดยการหากพบจุดเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุพนักงานจะต้องมีการรายงานต่อหัวหน้างาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยให้รับทราบ เพื่อที่จะได้แก้ไขทันท่วงที และเพื่อให้สะดวกต่อการรายงานระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) จาก JorPor Plus สามารถช่วยให้พนักงานรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และบันทึกจัดเก็บเป็นข้อมูลได้ ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8