“งานบนที่สูง” (Work at Height) คือ การทำงานไม่ว่าจะเป็นงานด้านวิศวกรรม อุตสาหกรรม หรือการปฏิบัติงานในทุกๆ ด้าน ซึ่งตัวผู้ทำงานจะอยู่บนพื้นที่ที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป หรือทางต่างระดับลงไปมากกว่า 2 เมตรก็ตาม ด้วยความที่การทำงานบนพื้นที่สูงนั้นมีความเสี่ยงสูงที่ตัวผู้ทำงานจะเกิดความอันตรายต่อชีวิต เช่น พลัดตก ทำให้กฎหมายสำหรับการทำงานบนที่สูงมีประกาศออกมาบังคับให้นายจ้างต้องปฏิบัติตามเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน และ ลูกจ้างทุกคนที่ทำงานบนที่สูง

ภาพที่ 1 : งานบนที่สูง หมายความว่าอะไร

การปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับพื้นฐานในการทำงานบนที่สูง

ภาพที่ 2 : ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงต้องได้รับการอบรมความปลอดภัย

 1. เป็นผู้ได้รับมอบหมายและมีคุณสมบัติในการทำงานบนที่สูง

ภาพที่ 3 : ก่อนปฏิบัติงานทุกครั้งต้องมีการขออนุญาตทำงาน

2. จัดให้มีการขออนุญาตก่อนปฏิบัติงาน (Work permit) ข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน หรือคู่มือการทำงานนั้นเอง โดยก่อนเริ่มทำงานเราจะต้องทำการอบรมให้กับพนักงานก่อนเริ่มทำงานบนที่สูง อาจจะใช้การประเมินอันตรายด้วย JSA มาทำเป็นคู่มือก็ได้เช่นกัน

ภาพที่ 4 : ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูงควรแต่งกายรัดกุม

3. สวมใส่เครื่องแต่งกายให้รัดกุมและเรียบร้อย และสวมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลขณะทำงานเสมอ

ภาพที่ 5 : เลือกจุดยึดที่แข็งแรงในการเกี่ยวเข็มขัดช่วยชีวิต

4. เลือกจุดยึดที่แข็งแรงสามารถรับแรงกระชากเมื่อเกิดการตกได้

5. เตรียมแผนการช่วยเหลือ และอุปกรณ์ช่วยเหลือ  

กฎที่บังคับผู้ปฏิบัติงานในการทำงานบนที่สูง 

ภาพที่ 6 : กฎและข้อบังคับที่ผู้ปฏิบัติงานควรปฏิบัติ

1. การขึ้น-ลงบันไดแนวตั้ง ให้ขึ้น-ลงทีละคน

2. บันไดจะต้องถูกจับยึดให้แน่นและมั่นคง

3. ขณะขึ้น-ลงให้จับขอบบันไดด้วยมือทั้ง 2 ข้าง และก้าวขึ้น-ลงด้วยความเร็วปกติ

4. ห้ามถือเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ใดๆ ขณะปีนขึ้น-ลงบันได สำหรับเครื่องมือ หรืออุปกรณ์ที่จำเป็นในการใช้งานให้พกพาโดยใส่ในกระเป๋าที่ติดกับเข็มขัดเท่านั้น

ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง 

ภาพที่ 7 : ความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง

1. ห้ามทำงานบนที่สูงเพียงลำพังคนเดียว

2. ห้ามเคลื่อนตัวอย่างรวดเร็ว เมื่อทำงานสูงกว่าพื้น 2 เมตรขึ้นไป

3. ห้ามโยนสิ่งของหรือเครื่องมือให้แก่ผู้อยู่บนที่สูง

4. ห้ามทิ้งสิ่งของหรือเครื่องมือลงสู่เบื้องล่าง

5. การตัด-เชื่อมบนที่สูง ให้ตรวจสอบและเคลื่อนย้ายเชื้อเพลิง และสารไวไฟทุกชนิดในพื้นที่เบื้องล่างก่อน และขณะตัด-เชื่อม ให้ทำงานด้วยความระมัดระวัง

6. ผู้ควบคุมงานต้องดูแลไม่ให้ใครเดินผ่านเบื้องล่างจุดทำงาน

7. ระวังขอยก (Hanger) ชน เมื่อจำเป็นต้องทำงานในเส้นทางของขอยก

8. ขณะยืนบนหลังคากระเบื้อง ห้ามเหยียบที่แผ่นกระเบื้องโดยตรง

9. กำหนดให้พื้นที่อันตราย หรือพื้นที่ที่จะเกิดอาจจะอันตราย ต้องติดตั้งป้ายเตือน หรือสัญลักษณ์เตือนอันตราย ไม่ว่าจะเป็น ห้ามเข้า ระวังวัสดุตกหล่น ระวังลื่น หรือเขตอันตราย นอกจากนี้การติดตั้งสัญลักษณ์เตือนยังรวมไปถึงการเตือนให้สวมใส่อุปกรณ์นิรภัย

10. ในกรณีที่มีการทำงานบนพื้นที่สูง 4 เมตรขึ้นไป จะต้องจัดให้มีอุปกรณ์กันตก เช่น ราวกั้น รั้วกั้น หรือตาข่ายต่างๆ แต่แนะนำว่าควรมีไม่ว่าจะสูงเท่าไหร่ก็ตาม

11. จัดให้มีการติดตั้งนั่งร้านที่ได้มาตรฐาน และต้องตรวจสอบความปลอดภัยของนั่งร้านก่อนเริ่มปฏิบัติงาน

อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ต้องสวมใส่

ภาพที่ 8 : อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่ต้องสวมใส่

1. ถุงมือที่ปราศจากน้ำมัน

2. รองเท้าเซฟตี้ และหมวกเซฟตี้

3. จะต้องสวมใส่อุปกรณ์กันตก เข็มขัดนิรภัยชนิดเต็มตัว (Full body harness) สายช่วยชีวิต (Lanyard, SRL) หรือ PPE ตลอดระยะเวลาที่ทำงานบนที่สูง รวมทั้งจัดให้มีส่วนประกับของระบบกันตกดังนี้

ภาพที่ 9 : หลักการ ABC ในการป้องกันการตกจากที่สูง

  • จุดยึดที่แข็งแรง (A)
  • เข็มขัดกันตกยึดกับร่างกาย (B)
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อในแต่ละส่วนที่ได้มาตรฐานแข็งแรง (C)

ในการทำงานบนที่สูง หรืองานที่มีความเสี่ยงทุกประเภทสิ่งที่สำคัญเลย คือ การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการทำงานจะปลอดภัย และไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและคนรอบข้าง โดยมาตรการความปลอดภัยนั้น จะต้องมีการเตรียมเอกสารเพื่อขอ ใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ประชุมและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน

ฉนั้นเพื่อให้การทำงานนั้นง่าย และสะดวกรวดเร็ว Jorpor Plus มีตัวช่วยในการทำงานที่ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น อย่างระบบการจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก Jorpor Plus ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถเปิดใบ work permit  Online เพื่อลดเวลาจากการเปิดใบงาน และเพิ่มเวลาในการตรวจเช็คความปลอดภัยก่อนเข้างานมากขึ้น และยังสามารถประเมินความเสี่ยงในการทำงานทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงานได้อีกด้วย ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8