ป้ายความปลอดภัย ในการทำงานบนที่สูง คือ สิ่งที่จะคอยบอกสถานะด้านต่างๆ ที่มักมาในรูปแบบป้ายเตือน เพื่อให้คนที่อยู่ใกล้บริเวณนั้นๆ ระมัดระวังมากขึ้น โดยส่วนใหญ่ของป้ายความปลอดภัยมักจะเป็นสัญลักษณ์ สี และข้อความสั้นๆ ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เพื่อให้ผู้ที่พบเห็นป้ายสามารถเข้าใจความหมายที่ต้องการสื่อสารได้ทันที การมีป้ายเตือน หรือ สัญลักษณ์ความปลอดภัยตามจุดต่างๆ ที่มีโอกาสเกิดอันตรายทำให้สามารถช่วยลดอุบัติเหตุและเหตุการณ์ไม่คาดฝันลงได้

ซึ่งอันตรายจากการทำงานบนที่สูง แบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ ลื่น สะดุด ตกจากบันได ตกจากที่สูง การตกกระทบจากวัสดุ จึงจำเป็นต้องมีป้ายเตือน ป้ายห้าม ป้ายบังคับ และป้ายแสดงภาวะความปลอดภัย ป้ายเหล่านี้เราอาจพบเห็นได้บ่อย ในโรงงานอุตสาหกรรม ไซต์ก่อสร้าง หรือสถานที่ที่มีความเสี่ยงต่างๆ เพื่อย้ำเตือนพนักงานลูกจ้างที่ต้องทำงานอยู่บนความเสี่ยง ทั้งไฟฟ้า เครื่องจักร สารเคมี ให้ตระหนักถึงความปลอดภัยอยู่เสมอ

สาเหตุที่ทำให้เกิดอันตรายจากการทำงานบนที่สูง

  • การจัดการความเสี่ยงที่ไม่มีประสิทธิภาพ
  • มาตรการควบคุม ป้องกันอันตรายจากการทำงานบนที่สูง ที่ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม
  • ข้อกำหนดและข้อบังคับในการทำงานบนที่สูง ไม่เพียงพอและไม่เหมาะสม รวมทั้งขาดการควบคุม ดูแลให้ปฏิบัติตามอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การเลือกใช้เครื่องมือ วัสตุและอุปกรณ์ ในการทำงานบนที่สูง ที่ไม่เหมาะสมและไม่ได้ตามมาตรฐาน

ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อการตกจากที่สูง

1. สภาพแวดล้อมในการทำงาน

  • สภาพแวดล้อมในการทำงานไม่เหมาะสม เช่น พื้นที่ที่มีไอระเหย ของสารเคมี ฟังกระจายน้ำ น้ำมัน ฝุ่นผง หรือตินโคลน
  • การปฏิบัติงานบนที่ลาดชัน บนชอบอาคารหรือหลังบริเวณที่คับแคบ พื้นที่จำกัด หรือมีสิ่งกีดขวาง
  • การปฏิบัติงานขณะฝนตก ลมแรง แสงแดดและอุณหภูมิร้อนจัด
  • สภาพพื้นที่ที่มีอันตราย เช่น ใกล้สายไฟฟ้าแรงสูง หรือใกล้บริเวณพื้นที่เสี่ยง เป็นต้น
  • สภาพพื้นที่ที่ไม่มีที่ยึด คล้อง เกาะเกี่ยว
  • การปฏิบัติงานบนโครงสร้างที่ไม่มั่นคงแข็งแรง
  • การปฏิบัติงานในสภาพการทำงานที่มีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงของอันตรายใหม่

2. ผู้ปฏิบัติงานบนที่สูง

  • ไม่สวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยจากการตกจากที่สูง
  • ไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบ ด้านความปลอดภัยในการทำงานบนที่สูง
  • ไม่มีความรู้ ขาดการฝึกอบรม และประสบการณ์ในการทำงานบนที่สูง
  • ไม่มีผู้ควบคุม ตรวจสอบ และกำกับดูแลต้านความปลอดภัย
  • มีปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ หรือสภาพร่างกายไม่พร้อมในการทำงานบนที่สูง

3. สาเหตุของวัสดุและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายจากการตกจากที่สูง

  • มีการออกแบบ และติดตั้งระบบป้องกันการตกจากที่สูงที่ไม่เหมาะสมกับพื้นที่ทำงาน และการใช้งาน
  • ใช้วัสดุ และอุปกรณ์ที่ชำรุดหรือเสื่อมสภาพ
  • ไม่มีระบบการตรวจสอบ และบำรุงรักษา

สัญลักษณ์ความปลอดภัย

ป้ายความปลอดภัย ซึ่งสามารถแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ

ภาพที่ 1 : ป้ายห้าม

ภาพที่ 2 : ป้ายแสดงความเป็นอันตราย

  • ป้ายห้าม (Prohibition signs) คือ ห้ามทำ พฤติกรรมที่เป็นอันตราย เพื่อความปลอดภัย เช่น ห้ามสูบบุหรี่ ห้ามจุดไฟ ห้ามสวมรองเท้าแตะ เป็นต้น

ภาพที่ 3 : ป้ายเตือน

  • ป้ายเตือน (Warning signs) คือ เตือนให้ระมัดระวัง เตือนถึงเขต หรือพื้นที่อันตราย เช่น ป้ายระวังอันตราย ป้ายระวังพื้นลื่น ป้ายระวังวัตถุไวไฟ เป็นต้น

ภาพที่ 4 : ป้ายบังคับ

  • ป้ายบังคับ (Mandatory signs) คือ บังคับให้ทำการกระทำที่เจาะจง บังคับให้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เพื่อความปลอดภัย เช่น ป้ายสวมที่ครอบหู ป้ายสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น

ภาพที่ 5 : ป้ายแสดงภาวะปลอดภัย

  • ป้ายแสดงภาวะปลอดภัย (No danger signs) คือ ป้ายที่แสดงภาวะปลอดภัย หรือพื้นที่ที่ปลอดภัย เช่น ป้ายทางหนีไฟ ป้ายจุดปฐมพยาบาล เป็นต้น

การใช้ป้ายความปลอดภัยที่เหมาะสมและถูกต้องในสถานที่ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นไซต์งานก่อสร้าง โรงงานอุตสาหกรรม หรือพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนั้น มีความสำคัญอย่างมากต่อการเพิ่มความปลอดภัยแก่ผู้ปฏิบัติงาน ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถระบุอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย อีกทั้งยังช่วยเตือนผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับขั้นตอนและสร้างความเป็นระเบียบและด้านความปลอดภัยในการทำงานได้อีกด้วย

ดังนั้นไม่เพียงแต่จะมีการติดป้ายตามความเสี่ยงของงานในพื้นที่ต่างๆ ผู้ปฏิบัติงานก็ต้องปฏิบัติตามป้ายความปลอดภัยที่กำหนดไว้ เช่น การสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ในพื้นที่ที่มีความสูงหรือเสี่ยงต่ออันตราย หรือป้ายห้ามบุคคลภายนอกเข้าไปยังพื้นที่อันตราย ทั้งนี้ Jorpor Plus มีตัวช่วยดีๆ อย่างระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) จาก Jorpor Plus เพื่อให้พนักงานมีสภาพแวดล้อมการทำงานที่ปลอดภัยและดี ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8