“อุบัติเหตุ จากการทำงาน” (Work Accident) คือ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่อาจส่งผลให้เกิดการบาดเจ็บ พิการหรือเสียชีวิตอาจทำให้ทรัพย์สินเสียหาย ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และขบวนการผลิตหยุดชะงัก ดังนั้นองค์กรจึงต้องมีวิธีการสอบสวนอุบัติเหตุ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ วางแผน และควบคุม รวมถึงการแก้ไขปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก ดังนั้นผู้บริหารขององค์กรควรให้ความสำคัญของการสอบสวนอุบัติเหตุทุกครั้ง เมื่อมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น และต้องถือเสมือนหนึ่งว่าเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องค้นหาให้ทราบถึงสาเหตุอันแท้จริงของการเกิดอุบัติเหตุ
ภาพที่ 1 : ความหมายของอุบัติเหตุจากการทำงาน
หลักการสอบสวนเพื่อค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
ภาพที่ 2 : หลักการสอบสวนอุบัติเหตุ
- ต้องจัดการสอบสวนทันทีเมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ผู้ทำการสอบสวนต้องมีใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงหรือมีอคติ ไม่พุ่งเป้าหลักหรือตั้งธงไปที่การตำหนิ ติเตียน หรือคิดว่าเป็นความผิดของผู้ปฏิบัติงานแต่เพียงอย่างเดียว โดยไม่คำนึงถึงสาเหตุร่วม (Contributing Causes) หรือหลักฐานแวดล้อมอื่นๆ
- ตรวจสอบและสังเกตสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ในการสอบสวนทุกครั้ง ผู้ที่เกี่ยวข้องจะต้องลงไปดูที่จุดเกิดเหตุ เพื่อจะได้ทำการเก็บรวมรวมข้อมูลต่างๆ มาทำการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงต่อไป
- ตัดสินใจโดยใช้ความรู้และประสบการณ์ ดังนั้นทีมสอบสวนจะต้องมีความรู้ความเข้าใจและประสบการณ์ในงาน และสภาพพื้นที่ที่เกิดอุบติเหตุ
- วิเคราะห์อุบัติเหตุในอดีตที่ผ่านมา หากเคยมีอุบัติเหตุในลักษณะนี้ที่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
บุคคลที่เกี่ยวข้องในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ภาพที่ 3 : บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ภาพที่ 4 : บุคคลที่เกี่ยวข้อง ในการสอบสวนอุบัติเหตุ (ต่อ)
บุคคลที่ทำหน้าที่ในการสอบสวนอุบัติเหตุจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้และเข้าใจในลักษณะงานที่ต้องเข้าไปทำการสอบสวน และมีความเข้าใจถึงเทคนิคของการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
- หัวหน้างาน : เป็นบุคคลแรกที่ควรเป็นผู้รับรายงานว่ามีอุบัติเหตุเกิดขึ้น และเข้าไปยังจุดที่เกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากเป็นบุคคลที่อยู่ใกล้ชิดกับเหตุการณ์มากที่สุด และเป็นผู้บังคับบัญชาที่อยู่หน้างาน ซึ่งจะคุ้นเคยกับพนักงาน ลักษณะการทำงาน เครื่องจักร สภาพแวดล้อมในการทำงาน และสภาพการณ์ที่อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
- ผู้บริหารในสายงานบังคับบัญชา : เพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมและเกิดความรับผิดชอบต่อความสูญเสีย
ที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุผู้บริหารในสายงานบังคับบัญชาของผู้ประสบอุบัติเหตุ หรือ ผู้รับผิดชอบในพื้นที่ที่เกิด
อุบัติเหตุจะต้องเข้าร่วมในการสอบสวนอุบัติเหตุ ในฐานะผู้บังคับบัญชาที่ต้องแสดงความรับผิดชอบต่อความ
เสียหายที่เกิดขึ้นด้วย - เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยระดับวิชาชีพ (จป) : นับว่าเป็นบุคลากรที่มีความรู้ ความสามารถในเรื่องของงานความปลอดภัยตามที่กฎหมายกำหนด อีกทั้งเป็นผู้ที่ผ่านการศึกษาอบรม ในองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับงานด้านความปลอดภัย จึงนับว่าเป็นบุคลากรที่จะใช้เทคนิควิชาการในการสอบสวนอุบัติเหตุและใช้ประสบการณ์จากการทำงานด้านความปลอดภัย ในการร่วมค้นหาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ
- คณะกรรมการความปลอดภัย : เป็นองค์กรความปลอดภัยที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายและเป็นองค์กรที่มีบุคลากรที่เป็นตัวแทนฝ่ายนายจ้าง และฝ่ายผู้ปฏิบัติงานอยู่ในคณะกรรมการดังกล่าว ดังนั้นในบางกรณีที่มีการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดกรณีสำคัญ เช่น การเกิดอัคคีภัย การระเบิด การสูญเสียด้านบุคคลขั้นรุนแรง เป็นต้นคณะกรรมการความปลอดภัยอาจมีการเรียกประชุม เพื่อร่วมพิจารณาผลจากการสอบสวนสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในขั้นต้นจากหัวหน้างานเพื่อพิจารณาวางมาตรการในการดำเนินการป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นอีก
- คณะกรรมการสอบสวนพิเศษ : ถ้าเป็นอุบัติเหตุที่จำเป็นต้องใช้ความรู้ ความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน หรือเชิงลึก ก็มีความจำเป็นที่ต้องมีการจัดตั้งทีมงานสอบสวนเฉพาะกิจ โดยอาจเป็นบุคลากรภายใน หรือผู้ชำนาญการภายนอก แล้วจัดตั้งเป็นทีมงานขึ้นมา เพื่อดำเนินการสอบสวนหาสาเหตุที่แท้จริง และนำเสนอมาตรการป้องกัน
ขั้นตอนในการสอบสวนอุบัติเหตุ
ภาพที่ 5 : ขั้นตอนในการสอบสวน
ภาพที่ 6 : ขั้นตอนในการสอบสวน (ต่อ)
- เมื่อมีเหตุการณ์ / อุบัติเหตุเกิดขึ้น จะต้องดำเนินการตอบโต้เหตุการณ์อย่างเหมาะสม ซึ่งในการตอบโต้เหตุการณ์จะครอบคลุมในเรื่องต่อไปนี้
- การเข้าควบคุมบริเวณที่เกิดอุบัติเหตุ
- การปฐมพยาบาลผู้ที่ได้รับบาดเจ็บในเบื้องต้นก่อนนำผู้ได้รับบาดเจ็บส่งโรงพยาบาลต่อไป
- ควบคุมมิให้ผลความเสียหายที่เกิดขึ้นจากอุบัติเหตุได้ขยายผลต่อไป
- เก็บรักษาหลักฐานในสถานที่เกิดเหตุ เพื่อป้องกันการเปลี่ยนแปลงของหลักฐานหากมีการเคลื่อนย้าย
- แจ้งให้ผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบถึงข้อมูลเบื้องต้นของการเกิดอุบัติเหตุ
- การเก็บรวบรวมข้อมูลและหลักฐานที่เกี่ยวข้อง ในขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญมาก จะนำไปสู่การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุที่แท้จริงได้ เทคนิคสำคัญที่ใช้ในการเก็บรวบรวมหลักฐานและข้อมูล มีดังนี้
- การสัมภาษณ์ซักถามผู้ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้ประสบอุบัติเหตุ ผู้เห็นเหตุการณ์ หัวหน้างานหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานนั้นๆ
- การวาดภาพของเหตุการณ์ประกอบ
- การถ่ายรูปหรือบันทึกภาพ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ประสบอุบัติเหตุ บริเวณที่เกิดอุบัติเหตุเครื่องจักรที่เกิดอุบัติเหตุ และภาพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จะใช้เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ใช้ประกอบในการสอบสวนอุบัติเหตุ
- การแสดงซ้ำให้ดู ในระหว่างการสอบสวนอุบัติเหตุ
- การตรวจสอบอุปกรณ์ เครื่องมือ และเครื่องจักร ในการสอบสวนอุบัติเหตุที่มีการทำงานเกี่ยวข้องกับการใช้อุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องจักร
- การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ที่รับผิดชอบในการสอบสวนอุบัติเหตุจะต้องนำข้อมูลต่างๆ มาใช้ในการวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ซึ่งสาเหตุที่ต้องการจะต้องเป็นสาเหตุพื้นฐาน (Basic Cause) ของการเกิดอุบัติเหตุ และสาเหตุพื้นฐานสามารถแบ่งได้ออกเป็น 2 ปัจจัย คือ
- ปัจจัยที่เกิดจากคน (Personal Factor) เช่น การขาดความรู้ การขาดทักษะและความชำนาญ การได้รับความกดดันทางด้านร่ายกายและจิตใจ เป็นต้น
- ปัจจัยที่เกิดจากงาน (Job Factor) เช่น ขาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่เหมาะสมในการทำงาน ขาดการบำรุงรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ การใช้อุปกรณ์และเครื่องมือผิดประเภท การใช้งานเกินกำลังของเครื่องมือและเครื่องจักร
- การกำหนดวิธีการแก้ไขและพัฒนาแนวทางการป้องกันอุบัติเหตุ องค์กรควรพิจารณากำหนดเป็นแผนการแก้ไข แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
- แผนแก้ไขปัญหาระยะสั้น ภายหลังจากการสอบสวนอุบัติเหตุจะมีแนวทางการแก้ไขบางอย่างที่อาจจำเป็นที่ต้องเร่งดำเนินการ และสามารถดำเนินการได้ทันที เพื่อหยุดยั้งเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นอีกซึ่งแนวทางดังกล่าวจะเป็นแนวทางที่ใช้แก้ไขตามสิ่งที่เกิดจากการกระทำ และสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย
- แผนแก้ไขปัญหาระยะยาว เป็นการแก้ไขปัญหาอย่างถาวร ซึ่งจะเป็นการแก้ไขที่สาเหตุพื้นฐาน (Basic Cause) ของอุบัติเหตุ ซึ่งการแก้ไขปัญหาระยะยาวจำเป็นที่จะต้องใช้การวางแผนที่ดี และได้รับการสนับสนุนจากระดับบริหาร ทั้งในด้านของงบประมาณอัตรากำลัง บุคลากร ซึ่งการแก้ไขปัญหาลักษณะนี้จะเป็นการควบคุม เพื่อป้องกันมิให้อุบัติเหตุในลักษณะดังกล่าวเกิดขึ้นอีก
- การติดตามและประเมินผล จะทำให้ได้ทราบว่าวิธีการแก้ไขที่กำหนดในแผนบรรลุซึ่งเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่ ในการติดตามผลควรมีการดำเนินการอย่างเป็นระยะ มีการกำหนดให้มีผู้รับผิดชอบในการติดตามที่ชัดเจนและในการติดตามผลนั้น จะต้องมีการรายงานความก้าวหน้าของการแก้ไขปัญหาให้ผู้บริหารทราบเป็นระยะจนกระทั่งการแก้ไขปัญหาแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์
- สรุปการสอบสวนอุบัติเหตุ
- จัดทำรายงานสรุปถึงข้อเสนอแนะในการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุดังกล่าวและเผยแพร่รายงาน
การบันทึกรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุ
ภาพที่ 7 : การทำรายงานบันทึก อุบัติเหตุ
- ข้อมูลพื้นฐานของผู้ประสบอุบัติเหตุ ได้แก่ ชื่อ – นามสกุล อายุ เพศ หมายเลขประจำตัว ตำแหน่ง หน้าที่ หน่วยงานที่ สังกัด อายุงาน เป็นต้น
- วัน เดือน ปี ที่เกิดอุบัติเหตุ
- สถานที่ ที่เกิดอุบัติเหต
- อธิบายรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
- สอบสวนผู้เห็นเหตุการณ์หรือผู้ที่เกี่ยวข้อง
- สาเหตุพื้นฐานของการเกิดอุบัติเหตุ
- วิธีการแก้ไขและป้องกันมิให้อุบัติเหตุเกิดขึ้นอีก
- ค่าเสียหายจากการเกิดอุบัติเหตุ
- ความเห็นของผู้บังคับบัญชา
- รายงานของเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์เกี่ยวกับลักษณะการบาดเจ็บความรุนแรงของการบาดเจ็บ ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาล
- ลายมือชื่อของคณะกรรมการที่ทำการสอบสวนอุบัติเหตุ
- ข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสร้างมาตรการความปลอดภัย การประเมินความเสี่ยงในการทำงาน หรือการจัดทำ JSA ถือเป็นวิธีการขั้นแรกที่องค์กรต้องจัดทำ เพื่อควบคุมและป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุจากการทำงาน และให้พนักงานตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานอยู่เสมอ
ดังนั้นเพื่อให้ครอบคลุมความปลอดภัย ทั้งพนักงานภายในและภายนอกองค์กรอย่างผู้รับเหมา ทาง Jorpor Plus จึงมีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) มีในส่วนของการทำ JSA ซึ่งครอบคลุมตามหัวข้อที่ครบถ้วน เพื่อลดอุบัติเหตุและสร้างความปลอดภัยทุกขั้นตอนการทำงาน Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8