“สารเคมีหกหรือรั่วไหล” เป็นอีกหนึ่งการเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรม สาเหตุหลักมาจากการรั่วไหลก๊าซหรือสารเคมี ซึ่งความรุนแรงหรือผลกระทบที่เกิดขึ้นมักขึ้นอยู่กับชนิดของก๊าซหรือสารเคมี ที่รั่วไหล ถ้าสิ่งที่รั่วไหลเป็นก๊าซไวไฟก็จะทำให้เกิดเหตุไฟไหม้ การระเบิด แต่ถ้าเป็นก๊าซพิษก็จะทำให้เกิดพิษ อันตรายต่อคนและสิ่งแวดล้อม
ดังนั้นการเก็บรักษา การผลิต การใช้และการขนส่ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่ถูกต้องตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริการจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย พ.ศ. 2556
ขั้นตอนที่ 1 ประเมินความเสี่ยง
ภาพที่ 1 : การประเมินความเสี่ยง
สารเคมีหกหรือรั่วไหล ผู้พบเห็นต้องทำการแจ้งหัวหน้างาน หรือจป เพื่อเข้าประเมินความเสี่ยงหรือเช็คความเป็นอันตรายของสารเคมีชนิดนั้นๆ ตามเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS) ก่อน ว่าส่งผลกระทบต่อสุขภาพ สิ่งแวดล้อม หรือสร้างความเสียหายแก่ทรัพย์สินหรือไม่ และตั้งป้ายเตือน/กั้นพื้นที่ ห้ามไม่ให้ผู้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องเข้าบริเวณที่เกิดเหตุ
ดังนั้น ขั้นตอนแรกต้องชี้บ่งถึงสารเคมีที่หกหรือรั่วไหลก่อนว่าเป็นสารชนิดใด ขั้นตอนต่อมาก็คือ จะต้องพิจารณาว่าสารนั้นหกหรือรั่วไหลในปริมาณมากน้อยเพียงใด
ขั้นตอนที่ 2 เลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ภาพที่ 2 : การเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสม
ผู้เข้าระงับเหตุหรือผู้ที่อยู่บริเวณพื้นที่เกิดเหตุ ควรที่จะมีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น ถุงมือป้องกันสารเคมี รองเท้าบูธ ชุดหมีป้องกันสารเคมี และหน้ากากกรองสารเคมี เป็นต้น โดยศึกษาข้อมูลจากเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสารเคมี (MSDS) และต้องสันนิษฐานไว้ก่อนเสมอว่าสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีความรุนแรงอย่างมากและให้ใช้ระดับการป้องกันอันตรายในระดับที่สูงที่สุด
ขั้นตอนที่ 3 กั้นแยกและหยุดแหล่งต้นกำเนิดจากการหกหรือรั่วไหล
ภาพที่ 3 : การกั้นแยกและหยุดต้นกำเนิดการรั่วไหลของสารเคมี
ต้องทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกหรือรั่วไหลได้โดยการใช้ Boom, Spill Berm หรือ Absorbent Sock ที่จะอยู่ในชุดอุปกรณ์รับเหตุสารเคมีหกหรือรั่วไหล และต้องทำการดูดซับหรือกำจัดสารเคมีอย่างรวดเร็ว เพื่อป้องกันไม่ให้สารเคมีกระจายตัวไปยังพื้นที่อื่นๆ
นอกจากนี้ยังสามารถใช้อุปกรณ์ป้องกัน/ฝาครอบปิดรางน้ำหรือที่อุดรางน้ำ เพื่อป้องกันมิให้สารปนเปื้อนใดๆ เคลื่อนที่เข้าไปในแหล่งน้ำได้ หลังจากที่ได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกหรือรั่วไหลแล้ว จะต้องหยุดแหล่งต้นกำเนิดของการรั่วไหลของสารด้วย
ขั้นตอนที่ 4 ประเมินและทำความสะอาดพื้นที่
ภาพที่ 4 : การประเมินและทำความสะอาดพื้นที่
เมื่อได้ทำการกั้นแยกสารเคมีที่หกเสร็จแล้ว ต้องมีแผนการสำหรับการทำความสะอาดสารเคมีที่หกหรือรั่วไหล โดยการกำจัดของเสียทั้งหมดที่เกิดขึ้น การนำ Absorbent Pad และ Absorbent Pillow มาวางจะสามารถช่วยดูดซับสารที่หกส่วนใหญ่ไว้ได้ ในกรณีที่สารเคมีหก มีส่วนประกอบของสารเคมีที่กระด้างมากๆ อาจต้องใช้สารทำละลายหรือสารลดความเป็นกรด/ด่าง
หลังจากที่ได้ทำความสะอาดสารเคมีที่หกเสร็จแล้ว ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าได้กำจัดของเสียทั้งหมดอย่างถูกต้องเหมาะสม จากนั้นนำวัสดุที่ใช้ในการดูดซับแล้วไปทิ้งลงถังขยะอันตราย หรือแยกใส่ภาชนะบรรจุเพื่อนำไปกำจัดต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 ทำความสะอาดร่างกาย
ภาพที่ 5 : การทำความสะอาดร่างกาย กรณีที่สัมผัสสารเคมี
ผู้ที่เข้าระงับเหตุ หรือผู้ที่สัมผัสสารเคมีควรทำการอาบน้ำ ชำระร่างกายด้วยการฟอกสบู่และน้ำจำนวนมากๆ เพื่อเจือจางสารเคมีที่ได้รับจากการสัมผัส โดยทำความสะอาดให้สารปนเปื้อนสะสมที่เกิดขึ้นออกให้หมด ซึ่งถ้าหากมีการสัมผัสสารเคมีผ่านผิวหนัง หลักการปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีดังนี้
– ถอดเสื้อผ้าที่เปื้อนสารเคมีและเปลี่ยนเป็นชุดอื่นทันที
– ล้างผิวหนังที่มีการสัมผัสกับสารเคมีด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง
– หากสารเคมีเข้าตา ให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที ล้างซ้ำๆ นาน 15 นาที
– อย่าใช้ยาแก้พิษทางเคมี เพราะความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยาอาจทำให้เกิดอันตรายมากขึ้น
– รีบนำตัวส่งแพทย์ทันทีหลังปฐมพยาบาลเบื้องต้นเสร็จ
ขั้นตอนที่ 6 รายงานสถานการณ์
ภาพที่ 6 : การรายงานสถานการณ์
หากกรณีร้ายแรงต้องทำการอพยพคนออกจากพื้นที่ไปยังจุดรวมพล ถ้ามีผู้บาดเจ็บให้ปฐมพยาบาลเบื้องต้น หรือนำส่งโรงพยาบาล เมื่อเหตุการณ์สงบลงแล้ว ต้องมีการนำข้อมูลสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุ ผลกระทบ และมาตรการป้องกันแก้ไข ระบุลงในรายงานการสอบสวนอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉิน และประชุมหารือผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อหามาตรการป้องกันร่วมกันต่อไป
วิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้นหากได้รับผลกระทบจากสารเคมีรั่วไหล
สำหรับอาการที่อาจเกิดขึ้นได้เนื่องจากได้รับการสัมผัสหรือโดนสารเคมีรั่วไหล ได้แก่ อาการแสบร้อนบริเวณผิวหนัง มีแผลพุพอง เกิดการระคายเคืองที่ตา มีการหายใจติดขัด และอาการอ่อนเพลีย ซึ่งมีวิธีปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีดังนี้
– พยายามอยู่ในสถานที่ที่เหนือลมเข้าไว้ เพื่อป้องกันสารเคมีเข้าจมูก
– ถอดเสื้อผ้าหรือวัสดุที่ปนเปื้อนสารเคมีออกเสียก่อน
– ล้างตาหรือผิวหนังที่สัมผัสสารเคมีรั่วไหลด้วยน้ำสะอาด จนกว่าจะไม่มีอาการระคายเคือง
– โทรแจ้ง 1669 เพื่อนำตัวส่งโรงพยาบาล
ดังนั้นผู้ที่เข้าไปให้ความช่วยเหลือ หรือผู้ที่ได้รับอันตรายจากการได้รับสารพิษ ควรสังเกตสภาพแวดล้อมในที่เกิดเหตุว่ามีความปลอดภัยเพียงพอก่อนเข้าไปให้ความช่วยเหลือ หรือปฐมพยาบาล รวมทั้งต้องทำการซักถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ หรือผู้พบผู้ประสบเหตุเป็นคนแรก และอย่าลืมสังเกตภาชนะที่บรรจุสารพิษที่ตกหล่นในบริเวณ หรือคราบของสารเคมีที่ติดอยู่ตามร่างกายของผู้ป่วย ซึ่งสามารถสังเกตได้จากกลิ่นของสารเคมีที่พบ กับกลิ่นจากลมหายใจของผู้ประสบเหตุ
และเพื่อให้ครอบคลุมความปลอดภัย ทั้งพนักงานภายในและภายนอกองค์กรอย่างผู้รับเหมา ทาง Jorpor Plus จึงมีเทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) มีในส่วนของกรณีที่พบสารเคมีหกรั่วไหลขณะปฏิบัติงาน ผู้รับเหมาหรือพนักงานสามารถดูข้อมูลการติดต่อเจ้าของงาน หรือจป ในระบบ หรือวิธีการยับยั้งสารเคมีเบื้องต้นหากสารเคมีไม่มีความเป็นอันตรายสูง เพื่อลดการเกิดอุบัติภัยในโรงงานอุตสาหกรรมและสร้างความปลอดภัยทุกขั้นตอนการทำงาน Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8