CPR หรือการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน เป็นทักษะที่สำคัญอย่างยิ่งที่ทุกคนควรเรียนรู้ เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่สามารถช่วยยื้อชีวิตของผู้ที่หัวใจหยุดเต้นหรือหยุดหายใจได้ในเวลาฉุกเฉิน การทำCPR อย่างมีประสิทธิภาพจำเป็นต้องได้รับการฝึกอบรมอย่างถูกต้องเพื่อให้การช่วยเหลือมีความปลอดภัยและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บของผู้ป่วย จุดมุ่งหมายและความสำคัญของการทำCPR อย่างถูกต้อง คือ

CPR คืออะไร?

ภาพที่ 1 : CPRคืออะไร

CPR ย่อมาจาก Cardiopulmonary Resuscitation หรือการช่วยฟื้นคืนชีพหัวใจและปอด เป็นการกระตุ้นการทำงานของหัวใจและการไหลเวียนโลหิต โดยการกดหน้าอกและช่วยหายใจให้ผู้ป่วยที่หัวใจหยุดเต้นหรือหายใจไม่ออก

จุดมุ่งหมายของการทำ CPR

  1. รักษาการไหลเวียนของเลือดที่มีออกซิเจนไปยังสมองและอวัยวะสำคัญ
  2. เพิ่มโอกาสรอดชีวิตจนกว่าผู้เชี่ยวชาญหรืออุปกรณ์ช่วยเหลือขั้นสูงจะมาถึง

ประเภทของCPR

  • สำหรับผู้ใหญ่ ใช้แรงกดและช่วยหายใจตามขั้นตอนมาตรฐาน
  • สำหรับเด็กและทารก มีความละเอียดอ่อนและใช้แรงกดที่น้อยกว่า
  • แบบ Hands-Only การกดหน้าอกอย่างเดียว เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรมช่วยหายใจ

เมื่อไหร่ถึงต้องทำ CPR?

การทำCPR ควรเริ่มทันทีเมื่อพบว่าผู้ป่วย

  • ไม่ตอบสนอง แม้จะมีการกระตุ้น
  • ไม่มีการหายใจ หรือมีการหายใจแบบเฮือก (agonal breathing)
  • ไม่มีชีพจร (สามารถคลำชีพจรที่คอหรือข้อมือเพื่อยืนยัน)

ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ควรทำ CPR

ภาพที่ 2 : ตัวอย่างเหตุการณ์

  • หัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน เช่น จากภาวะหัวใจขาดเลือด
  • ผู้ประสบอุบัติเหตุร้ายแรง เช่น การจมน้ำ หรืออุบัติเหตุรถยนต์
  • ผู้ถูกไฟฟ้าช็อต
  • ผู้สำลักอาหารหรือวัตถุที่อุดกั้นทางเดินหายใจ

ขั้นตอนการทำ CPR

1. การประเมินสถานการณ์

ภาพที่ 3 : การประเมินสถานการณ์

  • ตรวจสอบความปลอดภัย ตรวจสอบให้แน่ใจว่าสภาพแวดล้อมไม่มีอันตราย เช่น รถที่สัญจร ไฟฟ้า หรือสารเคมี
  • ประเมินผู้ป่วย ให้ปลุกเรียก ตบไหล่เพื่อดูการตอบสนอง ฟังเสียงการหายใจ หากผู้ป่วยรู้สึกตัว หายใจเองได้ ให้จัดท่านอนตะแคง ประเมินชีพจร แต่ถ้าไม่มีการตอบสนอง ให้ขอความช่วยเหลือทันที

2. โทรแจ้งศูนย์บริการฉุกเฉิน

ภาพที่ 4 : โทรแจ้งศุนย์บริการฉุกเฉิน

  • โทร 1669 หรือเบอร์ฉุกเฉินในพื้นที่ พร้อมแจ้งสถานที่และสถานการณ์โดยละเอียด
  • ขอความช่วยเหลือจากคนใกล้เคียง (ถ้ามี) เพื่อช่วยหาเครื่อง AED (เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าอัตโนมัติ)

3. การเปิดทางเดินหายใจ (Airway)

ภาพที่ 5 : การเปิดทางเดินหายใจ

  • จัดท่าผู้ป่วยให้นอนหงายบนพื้นเรียบ
  • ใช้วิธี Head Tilt-Chin Lift ใช้มือหนึ่งกดหน้าผากเบาๆ และอีกมือยกคางขึ้นเพื่อเปิดทางเดินหายใจ

4. การกดหน้าอก (Chest Compression)

ภาพที่ 6 : การกดหน้าอก

  1. วางมือหนึ่งข้างบริเวณกลางหน้าอก (ระหว่างกระดูกซี่โครงด้านล่าง)
  2. ใช้มืออีกข้างทับและประสานนิ้ว
  3. ใช้แรงจากไหล่และแขนตรง กดหน้าอกลงไปลึกประมาณ 5-6 เซนติเมตร (สำหรับผู้ใหญ่)
  4. กดหน้าอกด้วยจังหวะเร็ว 100-120 ครั้งต่อนาที
  5. หลังจากกดแต่ละครั้ง ให้ปล่อยหน้าอกคืนสู่ตำแหน่งเดิม

5. การช่วยหายใจ (Rescue Breaths)

ภาพที่ 7 : การช่วยหายใจ

  1. ใช้มือปิดจมูกผู้ป่วย
  2. ประกบปากผู้ป่วยให้แน่น และเป่าอากาศเบาๆ เข้าไปจนเห็นหน้าอกยกตัว
  3. ทำการช่วยหายใจ 2 ครั้ง หลังจากการกดหน้าอกครบ 30 ครั้ง
  4. ตรวจสอบว่ามีอากาศออกจากปากหรือจมูกของผู้ป่วยหลังการเป่า

6. การใช้งานเครื่อง AED (ถ้ามี)

ภาพที่ 8 : การใช้เครื่อง AED

AED (Automated External Defibrillator) หรือ เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าชนิดอัตโนมัติ  คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบพกพาชนิดหนึ่ง สามารถวินิจฉัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะที่เป็นอันตรายถึงชีวิตได้โดยอัตโนมัติ และสามารถให้การรักษาด้วยการช็อกไฟฟ้ากระตุกหัวใจ โดยใช้กระแสไฟฟ้า

  1. เปิดเครื่อง AED และฟังคำแนะนำ
  2. ติดแผ่นอิเล็กโทรดที่หน้าอกผู้ป่วยตามที่ระบุในคู่มือ
  3. ปฏิบัติตามคำแนะนำของเครื่อง AED ในการช็อกไฟฟ้าหรือกดหน้าอกต่อ

กดหน้าอกต่อเนื่อง ทำCPR จนกว่าทีมกู้ชีพจะมาถึง ส่งต่อผู้ป่วยให้กับทีมกู้ชีพเพื่อนำส่งโรงพยาบาล เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินมีโอกาสรอดและปลอดภัย

 อันตรายที่เกิดขึ้นหากทำไม่ถูกต้อง

ภาพที่ 9 : อันตรายที่เกิด หากทำไม่ถูกต้อง

  1. กระดูกซี่โครงหัก การวางมือผิดตำแหน่ง อาจส่งผลทำให้ซี่โครงหักได้ ซึ่งถ้าซี่โครงหักอาจจะไปทิ่มแทงโดนอวัยวะที่สำคัญ เช่น ปอด ตับ ม้าม แล้วทำให้เกิดการตกเลือด และอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้
  2. บาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน เช่น ปอด หัวใจ หรือกระบังลม การกดหน้าอกแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้กระดูกหน้าอกขึ้นลงอย่างรวดเร็ว และอาจทำให้กระดูกหัก หรือหัวใจช้ำได้
  3. อากาศเข้าไปในกระเพาะอาหาร (Gastric Inflation) การเปิดทางเดินหายใจไม่เต็มที่ หรือการเป่าลมมากเกินไป ทำให้ลมเข้าในกระเพาะอาหาร เกิดอาการท้องอืด อาเจียน ทำให้ลมไม่เข้าปอด หรือเข้าปอดไม่สะดวก และทำให้ปอดขยายตัวได้อย่างไม่เต็มที่
  4. การหยุดCPR กลางคัน หากผู้ช่วยชีวิตขาดความมั่นใจหรือเหนื่อยเกินไป โอกาสรอดของผู้ป่วยจะลดลง

ข้อควรระวัง

  • หากไม่มั่นใจในทักษะการช่วยหายใจ ให้ทำCPR แบบ Hands-Only (กดหน้าอกอย่างเดียว)
  • หลีกเลี่ยงการกดหน้าอกในตำแหน่งกระดูกลิ้นปี่ (xiphoid process) เพราะอาจทำให้เกิดบาดเจ็บรุนแรง

การทำCPR อย่างถูกวิธีเป็นทักษะที่สามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉินได้ โดยมีเป้าหมายเพื่อรักษาการไหลเวียนของเลือดและออกซิเจนในร่างกายจนกว่าทีมแพทย์ หรือหน่วยกู้ชีพจะมาถึง อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนอย่างถูกต้องเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วย เช่น กระดูกซี่โครงหักหรือการบาดเจ็บต่ออวัยวะภายใน หากไม่ได้รับการฝึกที่เหมาะสม ควรเลือกทำCPR แบบกดหน้าอกอย่างเดียว (Hands-Only CPR) และรีบโทรแจ้งหน่วยบริการฉุกเฉิน (1669 ในประเทศไทย) เพื่อขอคำแนะนำเพิ่มเติม

การทำCPR อย่างถูกวิธีควรที่จะได้รับการอบรมจากองค์กรที่เชี่ยวชาญ เช่น สภากาชาดไทย สมาคมหัวใจแห่งประเทศไทย หรือหน่วยฝึกอบรมความปลอดภัยต่างๆ โดยการฝึกปฏิบัติจริงกับผู้เชี่ยวชาญจะช่วยเพิ่มความมั่นใจและความแม่นยำในการช่วยเหลือชีวิตผู้ป่วยในสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8