“ปั้นจั่น (Crane)” เป็นเครื่องจักรที่ใช้สำหรับยกและเคลื่อนย้ายวัสดุหนักในงานก่อสร้าง อุตสาหกรรม และการขนส่ง โดยมีความสามารถในการยกวัตถุขึ้นสู่ที่สูงและเคลื่อนย้ายไปยังตำแหน่งที่ต้องการอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำงานกับปั้นจั่นและผู้ให้สัญญาณจะต้องได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยในการทำงานกับปั้นจั่นอย่างถูกต้องและครบถ้วน ปัจจุบัน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานได้ออกประกาศใหม่ในปี พ.ศ. 2567 เกี่ยวกับการกำหนดรูปภาพการใช้สัญญาณมือสำหรับการสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น ซึ่งประกาศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการทำงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในงานก่อสร้างและอุตสาหกรรมหนัก

ภาพที่ 1 : การใช้สัญญาณมือในงานปั้นจั่น 2567

ปั้นจั่น มี 2 แบบ

ภาพที่ 2 : ปั้นจั่น มี 2 แบบ

1. ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (Fixed Crane) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุมและเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัวซึ่งติดตั้งอยู่บนหอสูง ขาตั้งหรือบนล้อเลื่อน

2. ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Crane) หมายความว่า เครนที่ประกอบด้วยอุปกรณ์ควบคุม และเครื่องต้นกำลังอยู่ในตัวซึ่งติดตั้งอยู่บนยานที่ขับเคลื่อนในตัวเอง

ความสำคัญของสัญญาณมือในการทำงาน

1. ความสำคัญของการสื่อสาร : เน้นย้ำว่าการสื่อสารที่ชัดเจนและเข้าใจตรงกันระหว่างผู้ควบคุมปั้นจั่นและผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ เป็นสิ่งสำคัญมากในการป้องกันอุบัติเหตุ

2. อุบัติเหตุที่เกิดจากการสื่อสารที่ไม่ถูกต้อง : ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสถิติหรือกรณีตัวอย่างของอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการไม่ใช้สัญญาณมือที่ถูกต้อง

สัญญาณมือสื่อสารระหว่างผู้ปฏิบัติงานเกี่ยวกับปั้นจั่น

สัญญาณมือจะแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามการใช้งานของปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (Fixed Crane) และปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Crane) ดังนี้

ปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (Fixed Crane)

ภาพที่ 3 : สัญญาณมือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่

ภาพที่ 4 : สัญญาณมือปั้นจั่นชนิดอยู่กับที่ (ต่อ)

  1. ยกของขึ้น (Hoist)ให้งอข้อศอกขึ้นให้ได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
  2. ลดของที่ยกลง (Lower)ให้กางแขนออกเล็กน้อย แล้วนิ้วชี้ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม
  3. จุดยกเคลื่อนที่ (Trolley Travel)ให้กำมือหงายขึ้นในระดับไหล่ นิ้วหัวแม่มือชี้ออกในทิศทางที่ต้องการให้ลูกรอกเคลื่อนที่ในทางแนวนอน
  4. สะพานปั้นจั่นเคลื่อนที่ (Bridge Travel)ให้เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้าในระดับไหล่ ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้สะพานเคลื่อนที่
  5. หยุดยกของ (Stop) ให้กางแขนซ้ายออกข้างลำตัวระดับหัวไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
  6. หยุดของฉุกเฉิน (Emergency Stop)ให้กางแขนทั้งสองข้างออกข้างลำตัวอยู่ในระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
  7. การใช้ชุดยกหลายชุด (Multiple Trolleys)ให้ยกมือซ้ายอยู่ระดับเหนือศีรษะ งอศอกเป็นมุมฉาก (90 องศา) ชูนิ้วชี้ขึ้นนิ้วเดียว หมายถึงให้ใช้ลูกรอกหมายเลข 1 (หมายเลขที่เขียนบนลูกรอก) ชูนิ้วพร้อมกันทั้งสองนิ้ว หมายถึงใช้ลูกรอกหมายเลข 2 สัญญาณต่างๆ ทำเช่นเดียวกัน (เช่น ยกขึ้นหรือยกลง)
  8. ยกของขึ้นช้าๆ (Move Slowly)ให้ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือ แล้วหมุนช้าๆ (กรณีลดของลงช้าๆ ให้หงายฝ่ามือให้ได้ระดับเอว แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ)
  9. เลิกใช้ปั้นจั่น (Magnet is Disconnected)ให้ยืดแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัว โดยหงายฝ่ามือทั้งสองข้าง
  10. หมุนแขนปั้นจั่น สำหรับปั้นจั่นหอสูง (Swing) ให้กางแขนออกข้างลำตัวระดับไหล่ ใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังทิศทางที่ต้องการ ให้แขนปั้นจั่นเคลื่อนที่
  11. ยกแขนปั้นจั่นขึ้น สำหรับปั้นจั่นหอสูง (Raise Boom)ให้กางแขนออกสุดแขน แล้วกำมือ ชี้หัวแม่มือขึ้น
  12. ลดแขนปั้นจั่นลง สำหรับปั้นจั่นหอสูง (Lower Boom)ให้กางแขนออกสุดแขน แล้วกำมือ ชี้หัวแม่มือลง
  13. ยกแขนปั้นจั่นแล้วลดของที่กำลังยกลง สำหรับปั้นจั่นหอสูง (Raise the Boom and Lower the Load) ให้กางแขนออกสุดแขน เหยียดฝ่ามือในลักษณะตั้งหัวแม่มือ แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป-มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
  14. ลดแขนปั้นจั่นลงแล้วยกของที่กำลังยกขึ้น สำหรับปั้นจั่นหอสูง (Lower the Boom and Raise the Load) ให้กางแขนออกสุดแขน เหยียดฝ่ามือในลักษณะหัวแม่มือชี้ลง แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป-มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)

ปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (Mobile Crane)

ภาพที่ 5 : สัญญาณมือปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่

ภาพที่ 6 : สัญญาณมือปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ต่อ1)

ภาพที่ 7 : สัญญาณมือปั้นจั่นชนิดเคลื่อนที่ (ต่อ 2)

  1. ยกของขึ้น (Hoist)ให้งอข้อศอกขึ้นให้ได้ฉาก ใช้นิ้วชี้ชี้ขึ้นแล้วหมุนเป็นวงกลม
  2. ลดของที่ยกลง (Lower) ให้กางแขนออกเล็กน้อย แล้วนิ้วชี้ชี้ลงแล้วหมุนเป็นวงกลม
  3. ใช้รอกใหญ่ (Use Main Hoist)ให้กำมือยกขึ้นเหนือศีรษะ แล้วเคาะเบาๆ บนศีรษะของตนเองหลายๆ ครั้ง แล้วใช้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
  4. ใช้รอกช่วย (Use Auxiliary Hoist)ให้งอข้อศอกขึ้น กำมือระดับไหล่ โย้ไปข้างหน้าเล็กน้อย แล้วใช้มืออีกข้างหนึ่งแตะที่ข้อศอก จากนั้นให้สัญญาณอื่นๆ ที่ต้องการ
  5. ยกแขนปั้นจั่นขึ้น (Raise Boom)ให้กางแขนออกสุดแขน แล้วกำมือ ชี้หัวแม่มือขึ้น
  6. ลดแขนปั้นจั่นลง (Lower Boom)ให้กางแขนออกสุดแขน แล้วกำมือ ชี้หัวแม่มือลง
  7. ยกของขึ้นช้าๆ (Move Slowly) ให้ยกแขนคว่ำฝ่ามือให้ได้ระดับคาง แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือ แล้วหมุนช้าๆ (กรณีลดของลงช้าๆ ให้หงายฝ่ามือให้ได้ระดับเอว แล้วใช้นิ้วชี้ของมืออีกข้างหนึ่งชี้ตรงกลางฝ่ามือแล้วหมุนช้าๆ)
  8. ยกแขนปั้นจั่นแล้วลดของที่กำลังยกลง(Raise The Boom and Lower The Load) ให้กางแขนออกสุดแขน เหยียดฝ่ามือในลักษณะตั้งหัวแม่มือ แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป-มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
  9. ลดแขนปั้นจั่นลงแล้วยกของที่กำลังยกขึ้น (Lower The Boom and Raise The Load)ให้กางแขนออกสุดแขน เหยียดฝ่ามือในลักษณะหัวแม่มือชี้ลง แล้วกวักนิ้วทั้งสี่ไป-มา (ยกเว้นนิ้วหัวแม่มือ)
  10. เคลื่อนที่ในทิศทางที่ต้องการ (Travel) ให้เหยียดฝ่ามือขวาตรงออกไปข้างหน้าในระดับไหล่ ฝ่ามือตั้งตรงทำท่าผลักในทิศทางที่ต้องการให้รถปั้นจั่นเคลื่อนที่ไป
  11. หยุดชั่วขณะและยึดลวดสลิงทั้งหมด (Dog Everything)ให้ประสานมือทั้งสองข้างเข้าหากันอยู่ในระดับเอว
  12. รถปั้นจั่น (ตีนตะขาบ) เดินหน้าหรือถอยหลัง (Travel Both Track)ให้กำมือทั้งสองซ้อนกัน ยกขึ้นเสมอหน้าท้อง แล้วหมุนมือที่กำสองข้างให้ได้จังหวะกัน ถ้าจะให้รถปั้นจั่นเดินหน้าก็หมุนมือไปข้างหน้า ถ้าจะให้รถปั้นจั่นเดินถอยหลังก็หมุนมือถอยหลัง
  13. รถปั้นจั่น (ตีนตะขาบ) เคลื่อนที่ด้านข้างโดยยึดตีนตะขาบข้างหนึ่งไว้ (Travel One Track)ให้ยึด (ล็อค) ตีนตะขาบข้างหนึ่ง โดยกำมือขวาชูขึ้นให้ข้อศอกงอเป็นมุมฉาก (90 องศา) ให้ตีนตะขาบด้านตรงข้ามเคลื่อนที่ตามต้องการ โดยกำมืออีกข้างหนึ่งอยู่ในระดับเอว แล้วหมุนเข้าหาตัวแนวดิ่ง
  14. เลิกใช้ปั้นจั่น (Disconnected)ให้ยืดแขนทั้งสองออกไปข้างลำตัว โดยหงายฝ่ามือทั้งสองข้าง
  15. เลื่อนแขนปั้นจั่นออก (Extend Boom) ให้กำมือทั้งสองข้างหงายแล้วยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดหัวแม่มือทั้งสองข้างออก
  16. เลื่อนแขนปั้นจั่นเข้า (Retract Boom) ให้กำมือทั้งสองข้างคว่ำแล้วยกขึ้นเสมอเอว แล้วเหยียดหัวแม่มือทั้งสองชี้เข้าหากัน
  17. เลื่อนแขนปั้นจั่นออก (Extend Boom)ให้กำมือข้างหนึ่งแนบหน้าอก ชี้หัวแม่มือขึ้น แล้วเคาะเบาๆ ที่หน้าอก
  18. เลื่อนแขนปั้นจั่นเข้า (Retract Boom)ให้กำมือข้างหนึ่งแนบหน้าอก ชี้หัวแม่มือเอียงออกจากตัว แล้วเคาะเบาๆ ที่หน้าอก
  19. หมุนแขนปั้นจั่น (Swing) ให้กางแขนออกข้างลำตัวระดับหัวไหล่ ใช้นิ้วชี้ชี้ไปยังทิศทางที่ต้องการ ให้แขนปั้นจั่นเคลื่อนที่
  20. หยุดยกของ (Stop)ให้กางแขนซ้ายออกข้างลำตัวระดับหัวไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว
  21. หยุดของฉุกเฉิน (Emergency Stop)ให้กางแขนทั้งสองข้างออกข้างลำตัวอยู่ในระดับไหล่ ฝ่ามือคว่ำลงแล้วเหวี่ยงไป-มา ในแนวระดับไหล่อย่างรวดเร็ว

การใช้สัญญาณมือในการทำงานกับปั้นจั่นตามประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน 2567 เป็นการยกระดับความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน การสื่อสารที่ชัดเจนและการฝึกอบรมที่ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ นอกจากนี้ ในการปฏิบัติงาน ไม่ว่าจะเป็นผู้รับเหมาหรือพนักงานภายในที่ทำหน้าที่ควบคุมปั้นจั่นหรือผู้สื่อสาร ล้วนต้องมีใบอนุญาตในการทำงาน และระบบ Jorpor Plus ซึ่งเป็นระบบการจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) สามารถเพิ่มข้อมูล License ของผู้ปฏิบัติงานได้โดยตรง ทำให้ผู้ประกอบการสามารถตรวจสอบและจัดการใบอนุญาตของทีมงานได้อย่างง่ายดาย ช่วยให้การจัดการงานปลอดภัยและเป็นไปตามกฎหมาย ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8