การทำงานกับไฟฟ้า จะปลอดภัยเมื่อผู้ปฏิบัติงานระบุและควบคุมอันตรายได้อย่างเหมาะสม แต่การฝึกอบรมที่ไม่เพียงพอ การขาดประสบการณ์ และความล้มเหลวในการรับรู้ถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นอาจส่งผลให้เกิดไฟฟ้าช็อตหรือเสียชีวิตได้ ตามกฎกระทรวง กําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า พ.ศ. 2558
อาศัยอํานาจตามความในมาตรา 5 วรรค 1 และมาตรา 8 วรรค 1 แห่งพระราชบัญญัติ ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางาน พ.ศ. 2554 รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงแรงงานออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 2 ในกฎกระทรวงนี้
ภาพที่ 1 : การทำงานกับไฟฟ้า
หมวด 1
บททั่วไป
ข้อ 3 ให้นายจ้างจัดให้มีข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับไฟฟ้า โดยให้มีมาตรฐานไม่ต่ำกว่าที่กําหนดไว้ในกฎกระทรวงนี้ เพื่อให้ลูกจ้างปฏิบัติตาม
ภาพที่ 2 : อบรมลูกจ้างเกี่ยวกับความปลอดภัยใน การทำงานกับไฟฟ้า
ข้อ 4 ให้นายจ้างจัดให้มีการฝึกอบรมให้กับลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะที่จําเป็นในการทํางานอย่างปลอดภัยตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย ทั้งนี้ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ข้อ 5 ให้นายจ้างจัดให้มีและเก็บรักษาแผนผังวงจรไฟฟ้าที่ติดตั้งภายในสถานประกอบ กิจการทั้งหมดซึ่งได้รับการรับรองจากวิศวกรหรือการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นไว้ให้พนักงาน ตรวจความปลอดภัยหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมต้องดําเนินการแก้ไข แผนผังนั้นให้ถูกต้อง
ภาพที่ 3 : จัดให้มีแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตราย
ข้อ 6 ให้นายจ้างจัดให้มีแผ่นป้ายที่มีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์เตือนให้ระวังอันตราย จากไฟฟ้าที่มองเห็นได้ชัดเจนติดตั้งไว้โดยเปิดเผยในบริเวณที่อาจเกิดอันตรายจากกระแสไฟฟ้า ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามแบบที่กําหนดไว้ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด
ภาพที่ 4 : ห้ามปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําไฟฟ้า
ข้อ 7 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าเข้าใกล้หรือนําสิ่งที่เป็นตัวนําไฟฟ้า ที่ไม่มีที่ถือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าในระยะที่น้อยกว่า ระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หากยังไม่มี มาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจําท้องถิ่นกําหนด เว้นแต่นายจ้างจะได้ดําเนินการ ดังต่อไปนี้
- ให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เป็นฉนวนไฟฟ้าที่เหมาะสม กับแรงดันไฟฟ้า หรือนําฉนวนไฟฟ้าที่สามารถป้องกันแรงดันไฟฟ้านั้นได้มาหุ้มสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า
- จัดให้มีวิศวกร หรือกรณีการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นอาจจัดให้ผู้ที่ได้รับการรับรองเป็น ผู้ควบคุมงานจากการไฟฟ้าประจําท้องถิ่นดังกล่าว เพื่อควบคุมการปฏิบัติงานของลูกจ้าง
ภาพที่ 5 : ห้ามผู้ที่ไม่เกี่ยวกับเข้าใกล้สิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า
ข้อ 8 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานอื่นหรืออนุญาตให้ผู้ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าใกล้สิ่งที่มี กระแสไฟฟ้าในระยะที่น้อยกว่าระยะห่างตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจําท้องถิ่นกําหนด
ภาพที่ 6 : ห้ามลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียกหรือเป็นสื่อไฟฟ้าปฏิบัติงาน
ข้อ 9 ให้นายจ้างดูแลมิให้ลูกจ้างสวมใส่เครื่องนุ่งห่มที่เปียกหรือเป็นสื่อไฟฟ้าปฏิบัติงาน เกี่ยวกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกินกว่าห้าสิบโวลต์ โดยไม่มีฉนวนไฟฟ้าปิดกั้น เว้นแต่ นายจ้างจะได้จัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลหรือใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย ที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสําหรับการปฏิบัติงานของลูกจ้าง
ข้อ 10 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทํางานโดยใช้อุปกรณ์ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับกระแสไฟฟ้า หรืออยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสิ่งที่มีกระแสไฟฟ้า ให้นายจ้างจัดหาอุปกรณ์ชนิดที่เป็นฉนวนไฟฟ้า หรือหุ้มด้วยฉนวนไฟฟ้า หรืออุปกรณ์ป้องกันอันตรายที่เหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสําหรับการปฏิบัติงาน ของลูกจ้าง
ภาพที่ 7 : นายจ้างดูแลบริภัณฑ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้ใช้งานได้โดยปลอดภัย
ข้อ 11 ให้นายจ้างดูแลบริภัณฑ์ไฟฟ้าและสายไฟฟ้าให้ใช้งานได้โดยปลอดภัย หากพบว่าชํารุด หรือมีกระแสไฟฟ้ารั่ว หรืออาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้งาน ให้ซ่อมแซมหรือดําเนินการให้อยู่ในสภาพ ที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีหลักฐานในการดําเนินการเพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัย ตรวจสอบได้
ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบและจัดให้มีการบํารุงรักษาระบบไฟฟ้าและบริภัณฑ์ไฟฟ้า เพื่อให้ใช้งานได้อย่างปลอดภัย และให้บุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลที่ได้รับ ใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี เป็นผู้จัดทําบันทึกผลการตรวจสอบและรับรองไว้ เพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีประกาศกําหนด
ภาพที่ 8 : นายจ้างจัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคําบรรยายติดไว้ในบริเวณที่ทํางาน
ข้อ 13 ให้นายจ้างจัดให้มีแผ่นภาพพร้อมคําบรรยายติดไว้ในบริเวณที่ทํางานที่ลูกจ้างสามารถ มองเห็นได้ชัดเจนในเรื่อง ดังต่อไปนี้
- วิธีปฏิบัติเมื่อประสบอันตรายจากไฟฟ้า
- การปฐมพยาบาลและการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานโดยการผายปอดด้วยวิธีปากเป่าอากาศ เข้าทางปากหรือจมูกของผู้ประสบอันตราย และวิธีการนวดหัวใจจากภายนอก
หมวด 2
บริภัณฑ์ไฟฟ้าและเครื่องกําเนิดไฟฟ้า
ข้อ 14 การติดตั้งบริภัณฑ์ไฟฟ้า ให้นายจ้างปฏิบัติตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถาน แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าวให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้า ประจําท้องถิ่นกําหนด
ข้อ 15 ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้กุญแจป้องกันการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจร หรือจัดให้มีระบบ ระวังป้องกันมิให้เกิดการสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรตลอดเวลาที่ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าทํางาน ติดตั้ง ตรวจสอบ ซ่อมแซม หรือซ่อมบํารุงระบบไฟฟ้าหรือบริภัณฑ์ไฟฟ้า และให้ติดป้ายแสดง เครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ห้ามสับสวิตช์เชื่อมต่อวงจรไว้ด้วย
ข้อ 16 ห้ามนายจ้างให้ลูกจ้างทําความสะอาดบริภัณฑ์ไฟฟ้าที่มีกระแสไฟฟ้า เว้นแต่ มีมาตรการด้านความปลอดภัยรองรับไว้อย่างครบถ้วน
ภาพที่ 9 : บริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้แรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 50 โวลต์ให้นายจ้างจัดให้มีที่ปิดกั้นอันตราย
ข้อ 17 ในกรณีที่ส่วนของบริภัณฑ์ไฟฟ้าใช้แรงดันไฟฟ้าเกินกว่า 50 โวลต์ให้นายจ้างจัดให้มี ที่ปิดกั้นอันตรายหรือจัดให้มีแผ่นฉนวนไฟฟ้าปูไว้ที่พื้นเพื่อป้องกันอันตรายจากการสัมผัส
ข้อ 18 ให้นายจ้างติดตั้งเต้ารับ สายไฟฟ้า อุปกรณ์ และเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน ที่มีขนาด ชนิด และประเภทที่เหมาะสมไว้ให้เพียงพอแก่การใช้งาน ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หากยังไม่มีมาตรฐานดังกล่าว ให้ใช้มาตรฐานตามที่การไฟฟ้าประจําท้องถิ่นกําหนด
ข้อ 19 การใช้เครื่องกําเนิดไฟฟ้า ให้นายจ้างปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
- ติดตั้งในบริเวณพื้นที่กว้างพอที่จะปฏิบัติงานได้อย่างสะดวกและปลอดภัย
- จัดให้มีการระบายอากาศอย่างเพียงพอ กรณีติดตั้งเครื่องกําเนิดไฟฟ้าไว้ภายในห้อง หากมีไอเสียจากเครื่องยนต์ให้ต่อท่อไอเสียออกสู่ภายนอก
- จัดให้มีเครื่องป้องกันกระแสไฟฟ้าเกิน
- จัดให้มีอุปกรณ์ดับเพลิงชนิดที่ใช้ดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้าและน้ำมันในห้องเครื่องได้ ทั้งนี้ การออกแบบและติดตั้งให้เป็นไปตามมาตรฐานของสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ในกรณีการใช้เครื่องกําเนิดไฟฟ้าสํารอง นอกจากต้องปฏิบัติตามวรรคหนึ่งแล้ว นายจ้างต้องจัดให้มี เครื่องป้องกันการใช้ผิดหรือสวิตช์สับโยกสองทาง หรืออุปกรณ์อย่างอื่นที่มีคุณลักษณะเดียวกัน เพื่อมิให้ มีโอกาสต่อขนานกับระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าประจําท้องถิ่น เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากการไฟฟ้า ประจําท้องถิ่นนั้น
หมวด 3
ระบบป้องกันฟ้าผ่า
ภาพที่ 10 : นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่า
ข้อ 20 ให้นายจ้างจัดให้มีระบบป้องกันฟ้าผ่าตามมาตรฐานการป้องกันฟ้าผ่าของสมาคม วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หรือมาตรฐานสมาคมป้องกันอัคคีภัยแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา (National Fire Protection Association : NFPA) หรือมาตรฐานคณะกรรมาธิการ ระหว่างประเทศว่าด้วยมาตรฐานสาขาอิเล็กทรอเทคนิกส์ (International Electrotechnical Commission : IEC) หรือมาตรฐานอื่นตามที่อธิบดีประกาศกําหนด ไว้ที่สถานประกอบกิจการ อาคาร ปล่องควัน รวมถึงบริเวณที่มีถังเก็บของเหลวไวไฟหรือก๊าซไวไฟ
หมวด 4
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า
ภาพที่ 11 : จัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล
ข้อ 21 ให้นายจ้างจัดอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น ถุงมือหนัง ถุงมือยาง แขนเสื้อยาง หมวกนิรภัย รองเท้าพื้นยางหุ้มข้อชนิดมีส้นหรือรองเท้า พื้นยางหุ้มส้น ให้ลูกจ้างซึ่งปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าสวมใส่ตลอดเวลาที่ปฏิบัติงานและจัดให้มีอุปกรณ์ป้องกัน อันตรายจากไฟฟ้าที่เหมาะสมกับลักษณะงาน เช่น แผ่นฉนวนไฟฟ้า ฉนวนหุ้มสาย ฉนวนครอบลูกถ้วย กรงฟาราเดย์ (Faraday Cage) ชุดตัวนําไฟฟ้า (Conductive Suit)
ภาพที่ 12 : ปฏิบัติงานในที่สูงกว่าพื้นตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้สายช่วยชีวิต
ในกรณีที่ลูกจ้างต้องปฏิบัติงานในที่สูงกว่าพื้นตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป ให้นายจ้างจัดให้มีการใช้สาย หรือเชือกช่วยชีวิตและเข็มขัดนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ หรืออุปกรณ์ที่ป้องกันการตกจากที่สูงได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และหมวกนิรภัยที่เหมาะสมตามมาตรฐานที่กําหนดสําหรับให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดเวลา ที่ปฏิบัติงาน เว้นแต่อุปกรณ์ดังกล่าวจะทําให้ลูกจ้างเสี่ยงต่ออันตรายมากขึ้น ให้นายจ้างจัดให้มีอุปกรณ์ เพื่อความปลอดภัยอื่นที่สามารถใช้คุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพแทน
ข้อ 22 อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้า ต้องเป็นไปตามมาตรฐานที่กําหนดไว้และต้องมีคุณสมบัติ ดังต่อไปนี้
- อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและอุปกรณ์ที่ใช้ป้องกันกระแสไฟฟ้า ต้องเหมาะสมกับแรงดันไฟฟ้าสูงสุดในบริเวณที่ปฏิบัติงานหรือบริเวณใกล้เคียงที่อาจก่อให้เกิดอันตรายได้
- ถุงมือยางป้องกันไฟฟ้า ต้องมีลักษณะสวมกับนิ้วมือได้ทุกนิ้ว
- ถุงมือหนังที่ใช้สวมทับถุงมือยาง ต้องมีความยาวหุ้มถึงข้อมือและมีความคงทนต่อการฉีกขาดได้ดี การใช้ถุงมือยางต้องใช้ร่วมกับถุงมือหนังทุกครั้งที่ปฏิบัติงาน
ข้อ 23 การปฏิบัติงานเกี่ยวกับไฟฟ้าที่อยู่ใกล้หรือเหนือน้ำซึ่งอาจทําให้ลูกจ้างเกิดอันตราย จากการจมน้ำ ให้นายจ้างจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ชูชีพกันจมน้ำ เว้นแต่การสวมใส่ชูชีพอาจทําให้ลูกจ้าง ได้รับอันตรายมากกว่าเดิม ให้นายจ้างใช้วิธีการอื่นที่สามารถคุ้มครองความปลอดภัยได้อย่างมี ประสิทธิภาพแทน
ภาพที่ 13 : นายจ้างต้องบํารุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย
ข้อ 24 นายจ้างต้องบํารุงรักษาและจัดเก็บอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล และอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้อย่างปลอดภัย รวมทั้งต้องตรวจสอบ และทดสอบตามมาตรฐานและวิธีที่ผู้ผลิตกําหนด
บทเฉพาะกาล
ข้อ 25 ให้วิศวกรตามคํานิยาม “วิศวกร” ในกฎกระทรวงนี้ เป็นผู้ตรวจสอบและรับรอง การดําเนินการตามข้อ 12 จนกว่าจะได้มีบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 9 หรือนิติบุคคลได้รับ ใบอนุญาตตามมาตรา 11 แห่งพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อม ในการทํางาน พ.ศ. 2554 แล้วแต่กรณี
การทำงานกับไฟฟ้าสามารถเกิดอันตรายได้ตลอดเวลา ผู้ปฏิบัติงานต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ และต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติที่จะสามารถทำงานกับไฟฟ้าได้อย่างปลอดภัย ในการทำงานกับไฟฟ้านั้น ต้องมีขั้นตอนในการทำงานที่ปลอดภัยและอบรมให้ผู้ปฏิบัติงานรับทราบ
ดังนั้นก่อนที่จะปฏิบัติงานจะต้องเตรียมความพร้อมและตรวจเช็คการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เพื่อเน้นย้ำถึงมาตรการความปลอดภัยทั้งก่อน และระหว่างการปฏิบัติงานอยู่เสมอ โดย ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus ทั้งครอบคลุมและตอบโจทย์องค์กรต่างๆ มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8