“เพลิงไหม้” มักก่อให้เกิดความเสียหายทั้งชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม หากเพลิงไหม้ลุกลามแพร่กระจายในวงกว้างก็จะยิ่งเป็นอันตรายร้ายแรง ดังนั้น การปฏิบัติตามขั้นตอนที่ถูกต้อง เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ จึงเป็นสิ่งสําคัญที่จะช่วยควบคุม และระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว เพื่อลดและบรรเทาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
ทฤษฎีการเกิดเพลิงไหม้
ภาพที่ 1 : องค์ประกอบของไฟ
การเผาไหม้หรือการสันดาป เป็นปฏิกิริยาการคายความร้อนซึ่งเป็นสภาวะที่เกิดจากเชื้อเพลิงไม่ว่าจะเป็นของแข็ง ของเหลว ก๊าซ เมื่อเผาไหม้แล้วก่อเกิดพลังงาน มีองค์ประกอบหรือปัจจัยอยู่ 3 อย่าง
1.เชื้อเพลิง Fuel
2.ออกซิเจน Oxygen
3.ความร้อน Heat
องค์ประกอบทั้งหมดต้องมีอัตราส่วนที่พอเหมาะ เมื่อมีองค์ประกอบทั้ง 3 ครบแล้วไฟจะเกิดลุกไหม้ขึ้นและเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ และการที่จะดับไฟนั้น ก็ต้องเอาอย่างใดอย่างหนึ่งออกไป
ช่วงการลุกไหม้ของเชื้อเพลิง Flammable range
– Lower explossive limit คืออัตราส่วนอย่างต่ำที่ทำให้เชื้อเพลิงกับอากาศสามารถจุดติดเป็นเปลวไฟได้
– Ideal mixture คืออัตราส่วนพอเหมาะที่ทำให้เชื้อเพลิงและอากาศเกิดจุดติดอย่างรวดเร็ว และให้อุณภูมิสูงสุด
– Upper explosive limit คืออัตราส่วนที่มีสารที่เป็นเชื้อเพลิงมากเกินไปทำให้จุดติดไม่สมบูรณ์
เมื่อเกิดเหตุผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้
ภาพที่ 2 : ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้
1.1 แจ้งเหตุด้วยสัญญาณเตือนภัย และแจ้งเหตุเพลิงไหม้ให้คนรอบข้างทราบ
1.2 แจ้งเหตุเพลิงไหม้ต่อหน่วยระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กร โดยแจ้งข้อมูลสําคัญให้ทราบดังนี้
– ประเภทของเหตุฉุกเฉินที่เกิดขึ้น เช่น เพลิงไหม้ ระเบิด สารเคมีหกรั่วไหล เป็นต้น
– สถานที่เกิดเหตุฉุกเฉิน โดยระบุอาคารและบริเวณตําแหน่งที่เกิดเพลิงไหม้ให้ชัดเจน เวลาที่เกิดเหตุ
– สาเหตุของการเกิดเพลิงไหม้ (ถ้าทราบสาเหตุ)
– แจ้งชื่อผู้แจ้งเหตุ สถานที่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้แจ้งเหตุ หรือหมายเลขที่สามารถติดต่อกลับได้
– อย่าวางสายโทรศัพท์ก่อนผู้รับแจ้งเหตุ เนื่องจากผู้รับแจ้งเหตุอาจต้องการสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม
1.3 หยุดกระบวนการผลิตหรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
1.4 ในกรณีเพลิงไหม้เล็กน้อย อาจใช้เครื่องดับเพลิงที่อยู่ใกล้เคียงระงับเหตุเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น หากทําได้โดยไม่เป็นอันตราย ทั้งนี้ ผู้ประสบเหตุเพลิงไหม้ควรได้รับการอบรมการใช้เครื่องดับเพลิงมาแล้ว
1.5 หากไม่สามารถดับเพลิงในเบื้องต้นได้ ให้ปิดประตู และหนีออกจากที่เกิดเหตุทันที
การอพยพหนีไฟ เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
ภาพที่ 3 : การอพยพหนีไฟต้องทำอย่างไร
เมื่อได้รับทราบว่าเกิดเหตุเพลิงไหม้ขึ้น ให้อพยพออกจากบริเวณที่เกิดเหตุทันที และเพื่อความปลอดภัย ควรปฏิบัติดังนี้
2.1 อพยพออกจากที่เกิดเหตุทางบันได ไปตามเส้นทางหนีไฟที่ไปยังทางออกที่ใกล้ที่สุด ห้ามใช้ลิฟต์
2.2 อย่านําสิ่งของขนาดใหญ่ติดตัวไปด้วย ขณะอพยพหนีไฟ
2.3 อพยพออกจากที่เกิดเหตุอย่างเป็นระเบียบ อย่าวิ่ง หรือผลักกัน
2.4 เมื่ออพยพออกจากที่เกิดเหตุให้ไปยังจุดรวมพล (บริเวณที่ปลอดภัย) ที่กําหนดไว้ อย่ากลับเข้าไปที่เกิดเหตุอีก จนกว่าจะได้รับแจ้งว่าเหตุการณ์สงบและเข้าสู่สภาวะปกติ
การระงับเหตุเพลิงไหม้
ภาพที่ 4 : วิธีการระงับเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
ผู้ปฏิบัติการระงับเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งเหตุเพลิงไหม้ ควรปฏิบัติดังนี้
3.1 เตรียมตัวให้พร้อม รวมทั้งจัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิง และไปยังที่เกิดเหตุโดยเร็วที่สุดที่จะทําได้
3.2 ตรวจสอบเพื่อให้ทราบประเภทของเพลิงไหม้ และประเมินสถานการณ์ความรุนแรงของเพลิงไหม้
3.3 ดับเพลิงโดยใช้เครื่องดับเพลิงชนิดที่เหมาะสมกับประเภทของเพลิงไหม้ที่เกิดขึ้น
3.4 ในกรณีที่เพลิงไหม้เนื่องจากสารเคมีหกรั่วไหล
- กําหนดเขตพื้นที่อันตราย กั้นแยกพื้นที่ไม่ให้ผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้า-ออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ
- พิสูจน์ทราบว่าสารเคมีที่หกรั่วไหลเป็นสารเคมีชนิดใด โดยพิจารณาจากฉลากที่ปิดข้างภาชนะบรรจุสารเคมี
- ประเมินสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาถึงสิ่งต่อไปนี้
1) สารดังกล่าวติดไฟ หรือมีสิ่งที่ก่อให้เกิดการติดไฟในบริเวณนั้นหรือไม่
2) สารดังกล่าวเป็นสารระเหยหรือไม่
3) สารดังกล่าวเป็นพิษหรือไม่
4) สภาพภูมิอากาศในขณะนั้นอย่างไร เช่น ทิศทางลม, ความเร็วลม เป็นต้น
5) อันตรายที่เกิดขึ้นมีผลกระทบต่อสิ่งใดบ้าง เช่น คน ทรัพย์สิน หรือสิ่งแวดล้อม
6) อะไรที่ควรจะต้องดําเนินการ ตามลําดับก่อนและหลัง เช่น มีความจําเป็นในการอพยพผู้คนหรือไม่ ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ใดในการระงับภัย
7) การเข้าระงับเหตุจะต้องใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลอะไรบ้าง
8) อะไรคือแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องที่สุดในการระงับอุบัติภัย
- จํากัดการหกรั่วไหลของสารเคมี หากทําได้โดยไม่เป็นอันตราย และอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณที่เกิดเหตุ
- เข้าดําเนินการระงับเหตุฉุกเฉินด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสารเคมี
การช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ
ภาพที่ 5 : วิธีช่วยเหลือผู้ได้รับบาดเจ็บ กรณีที่เกิดเหตุเพลิงไหม้
ในกรณีที่พบผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ควรปฏิบัติดังนี้
4.1 แจ้งหน่วยระงับเหตุฉุกเฉินขององค์กรให้ทราบตําแหน่ง และบริเวณที่พบผู้บาดเจ็บ เพื่อให้ผู้มีหน้าที่ช่วยเหลือผู้บาดเจ็บสามารถเข้าช่วยเหลือได้โดยเร็ว
4.2 อย่าช่วยเหลือผู้บาดเจ็บโดยไม่ทราบวิธีปฏิบัติที่ถูกต้อง การช่วยเหลืออย่างไม่ถูกวิธีอาจเป็นอันตราย ต่อผู้บาดเจ็บได้
4.3 อย่าเคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บ หากไม่จําเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่ได้รับบาดเจ็บบริเวณกระดูกและกระดูกสันหลัง
4.4 ทําการปฐมพยาบาลในกรณีที่จําเป็น เช่น สารเคมีเข้าตาให้ล้างตาด้วยน้ำสะอาด เป็นแผลเลือดออก มากให้ใช้ผ้าสะอาดกดที่ปากแผลเพื่อห้ามเลือด เป็นต้น
โดยทั่วไปเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ พนักงานภายในองค์กรมักจะตื่นตกใจ ทําให้เกิดความวุ่นวาย ทั้งในเรื่องการอพยพหนีไฟ การดับเพลิง และการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บ ทําให้ไม่สามารถระงับเหตุได้อย่างรวดเร็ว และก่อให้ เกิดความเสียหายขึ้น ดังนั้นองค์กรควรจะมีการกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ที่ถูกต้อง และจัดให้มีการฝึกซ้อมเป็นประจํา เพื่อให้พนักงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินมีความชํานาญ และปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอพยพผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องออกจากบริเวณที่เกิดเหตุได้อย่างปลอดภัย ทั้งนี้ องค์กรควรจะมีการจัดระบบความปลอดภัยเพื่อป้องกันและระงับเหตุเพลิงไหม้ที่ดีด้วย
และในกรณีที่ผู้รับเหมาหรือบุคคลภายนอกที่เข้ามาทำงานในสถานประกอบการ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) จะต้องมีการอบรม และชี้แจงแผนอพยพหนีไฟและเส้นทางหนีไฟให้กับผู้รับเหมาหรือบุคคลภายนอกได้รับทราบ โดยทาง Jorpor Plus มีตัวช่วยดีๆ ให้กับจป. อย่างระบบการจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก Jorpor Plus ที่สามารถให้ผู้รับเหมาที่จะเข้าไปทำงานในสถานประกอบการเข้าอบรม Online และทำข้อสอบในระบบได้เลย เพื่อช่วยลดขั้นตอนการทำงานของจป. ให้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8