“รถยก” (Forklift) ในโรงงานอุตสาหกรรม มีการนำเครื่องจักรต่างๆ มาใช้งาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และ ลดภาระการทำงานของคนงาน การใช้งานรถยก ก็เช่นเดียวกัน ซึ่งตามมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆ ผู้ใช้งานหรือผู้ควบคุมการใช้งานต้องตรวจสอบสภาพก่อนการใช้งาน เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการใช้งาน และความปลอดภัยในการใช้งานรถยก ตามมาตรฐานที่กำหนดไว้กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานในการบริหารจัดการและดำเนินการด้านความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรปั้นจั่นและหม้อน้ำพ.ศ. 2564
ส่วนที่ 4
รถยก
“รถยก” หมายความว่า รถที่ติดตั้งอุปกรณ์ใช้สำหรับการยกหรือเคลื่อนย้ายสิ่งของ เช่น ฟอร์คลิฟต์ (forklift) หรือรถที่ทำงานในลักษณะเดียวกัน
ภาพที่ 1 : การทำงานเกี่ยวกับรถยก
ข้อ 34 ในการทำงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้างต้องปฏิบัติ ดังต่อไปนี้
(1) จัดให้มีโครงหลังคำของรถยกที่มั่นคงแข็งแรง สามารถป้องกันอันตรายจากวัสดุตกหล่นได้ เว้นแต่รถยกที่ออกแบบมาให้ยกวัสดุสิ่งของที่มีความสูงไม่เกินศีรษะของผู้ขับขี่
จากข้อกำหนดข้างต้นจะเห็นได้ว่ารกยกจะต้องมีโครงหลังคาที่เป็นเหล็ก เพื่อป้องกันอันตรายจากสิ่งของที่อาจหล่นใส่ศีรษะของผู้ขับขี่ได้ จากวัตถุประสงค์ของการใช้งานรถยกก็เพื่อเคลื่อนย้ายสิ่งของและยกสิ่งของขึ้นลง หากไม่มีโครงหลังคาที่มั่นคงแข็งแรงผู้ขับขี่อาจจะได้รับอันตรายได้ และถ้าหากการยกสิ่งของสูงไม่เกินศีรษะ ส่วนใหญ่แล้วในทางปฏิบัติมักจะใช้แฮนด์ลิฟต์ในการยกทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับหน้างานและพื้นที่ด้วย
(2) จัดให้มีป้ายบอกพิกัดน้ำหนักยกอย่างปลอดภัยตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะ และคู่มือการใช้งานไว้ที่รถยก พร้อมทั้งติดตั้งป้ายเตือนให้ระวัง
(3) ตรวจสอบรถยกให้มีสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งานทุกครั้ง และต้องมีสำเนา เอกสารการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
(4) จัดให้มีสัญญาณเสียงหรือแสงไฟเตือนภัยในขณะทำงานตามความเหมาะสมของการใช้งาน เพราะในขณะที่รถยกกำลังเคลื่อนย้าย อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ หากมีบุคคลอื่นอยู่ในพื้นที่การปฏิบัติของรถยกด้วย
(5) จัดให้มีอุปกรณ์ช่วยการมองเห็นตามสภาพในการทำงาน เช่น กระจกมองข้าง
(6) ให้ลูกจ้างซึ่งทำหน้าที่ขับรถยกชนิดนั่งขับสวมใส่เข็มขัดนิรภัยในขณะทำงานบนรถตลอดเวลา เนื่องจากหากเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิด Accident ที่ทำให้เกิดรถยกพลิกคว่ำ โดยสัญชาตญาณของผู้ขับขี่มักจะกระโดดลงจากรถยก โดยที่ขณะนั้นไม่ได้คาดเข็มขัดนิรภัย ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ขับขี่โดนรถทับ ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตได้ แต่ถ้าหากผู้ขับขี่สวมใส่เข็มขัดนิรภัย ดันหลังชิดเบาะ มือจับพวงมาลัยให้แน่น ก็จะปลอดภัยจากการถูกรถยกทับได้
ภาพที่ 2 : นายจ้างต้องไม่ทำการดัดแปลงรถยก
ข้อ 35 นายจ้างต้องไม่ดัดแปลงหรือกระทำการใดกับรถยกที่มีผลทำให้ความปลอดภัยในการทำงานลดลง เว้นแต่กรณีที่นายจ้างดัดแปลงรถยกเพื่อใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง และได้ปฏิบัติ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานแล้ว หากรถยกที่ใช้งานเป็นรถยกที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงต้องได้รับการตรวจทดสอบรับรองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยวิศวกรผู้ได้รับอนุญาต
ภาพที่ 3 : นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยก
ข้อ 36 นายจ้างต้องควบคุมดูแลบริเวณที่มีการเติมประจุไฟฟ้าแบตเตอรี่สำหรับรถยก ที่ใช้ไฟฟ้าให้อยู่ห่างจากบริเวณที่ลูกจ้างทำงานได้อย่างปลอดภัย และจัดให้มีมาตรการเกี่ยวกับ การระบายอากาศเพื่อป้องกันการสะสมของไอกรด และไอระเหยของไฮโดรเจนจากการประจุไฟฟ้า
ภาพที่ 4 : นายจ้างต้องตีเส้นช่องทางเดินรถยกบริเวณภายในอาคารหรือกำหนดเส้นทางเดิน
ข้อ 37 นายจ้างต้องตีเส้นช่องทางเดินรถยกบริเวณภายในอาคารหรือกำหนดเส้นทางเดิน รถยกในบริเวณอื่นที่มีการใช้รถยกเป็นประจำ จากข้อกำหนดมีอุตสาหกรรมหลายๆ ที่ ที่มีการจัดทำช่องทางสำหรับรถยก และช่องทางเดินไว้อย่างชัดเจน โดยมีการทาสี หรืออาจจะทำรั้วกั้น เพื่อแบ่งพื้นที่สำหรับคนและสำหรับรถเคลื่อนย้าย เพื่อให้เกิดความปลอดภัยสำหรับผู้ปฏิบัติงาน
ข้อ 38 นายจ้างต้องติดตั้งกระจกนูนหรือวัสดุอื่นที่มีคุณสมบัติคล้ายกันไว้ที่บริเวณทางแยก หรือทางโค้งที่มองไม่เห็นเส้นทางข้างหน้า เนื่องจากการติดตั้งกระจกนูน พร้อมกับส่งสัญญาณเสียงในบริเวณทางโค้งหรือมุมอับ เวลาที่รถเคลื่อนย้ายสิ่งของ และมีผู้ปฏิบัติงานอยู่บริเวณนั้นได้รับทราบ พร้อมกับระมัดระวังขณะเดิน
ภาพที่ 5 : นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยกให้มีความมั่นคงแข็งแรง
ข้อ 39 นายจ้างต้องจัดทางเดินรถยกให้มีความมั่นคงแข็งแรง และสามารถรองรับน้ำหนักรถ รวมทั้งน้ำหนักบรรทุกของรถยกได้อย่างปลอดภัย
ภาพที่ 6 : นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับรถยก
ข้อ 40 นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก ผ่านการฝึกอบรมเกี่ยวกับรถยก โดยวิทยากรซึ่งมีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์การทำงานเกี่ยวกับรถยก ตามหลักสูตร ที่อธิบดีประกาศกำหนด และถ้าหากลูกจ้างได้ผ่านการอบรมแล้ว มาตรฐานอุตสาหกรรมหลายๆ ที่ ก็อาจจะมีการชี้บ่งถึงตัวบุคคลนั้นว่าได้รับการอบรม และอนุญาตให้ขับรถยกได้ เช่น การติดบัตรที่ตัวบุคคลว่าเป็นบุคคลได้รับการอบรม ระบุชื่อพร้อมแนบรูป เพื่อให้เห็นได้อย่างชัดเจน และสามารถป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้รับการอบรม หรือผู้ที่ไม่มีใบอนุญาตนั้นขับรถยกได้
ภาพที่ 7 : นายจ้างต้องควบคุมดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า
ข้อ 41 นายจ้างต้องควบคุมดูแลการนำรถยกไปใช้ปฏิบัติงานใกล้สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้า ที่มีแรงดันไฟฟ้า โดยต้องมีระยะห่างเพื่อความปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(1) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าไม่เกิน 69 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.1 เมตร
(2) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 69 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 115 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 3.3 เมตร
(3) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 115 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 230 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
(4) สายไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีแรงดันไฟฟ้าเกิน 230 กิโลโวลต์แต่ไม่เกิน 500 กิโลโวลต์ ต้องห่างไม่น้อยกว่า 6 เมตร
ภาพที่ 8 : นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ขับรถยกโดยสารหรือขึ้นไป
ข้อ 42 นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้บุคคลอื่นนอกจากผู้ขับรถยกโดยสารหรือขึ้นไป บนส่วนหนึ่งส่วนใดของรถยก เนื่องจากรถยกมีแค่ที่นั่งเฉพาะสำหรับผู้ขับขี่เท่านั้น ดังนั้นไม่ควรที่จะให้ผู้อื่นนอกจากผู้ขับโดยสารทุกรูปแบบ เพราะรถยกมีการเคลื่อนที่อาจทำให้เกิดอุบัติเหตุผู้ที่โดยสารไปตกหล่นจากรถ หรือรถคว่ำพลิกทับ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้เลย
เอกสารที่เกี่ยวข้องและต้องจัดทำให้มี
ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับรถยก นายจ้าง ต้องจัดให้มีเอกสาร ดังนี้ (ซึ่งเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ต้องทวนสอบและดำเนินการเสนอนายจ้าง)
(1) คู่มือการใช้งานรถยก เป็นภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่ผู้ขับรถยกสามารถศึกษาได้ ซึ่งคู่มือนี้ต้องมีรายละเอียดเกี่ยวกับการประกอบ การติดตั้ง การทดสอบ การใช้ การซ่อมแซม การบำรุงรักษา การตรวจสอบ การเคลื่อนย้ายรกยกด้วยเป็นอย่างน้อย
(2) ทะเบียนผู้ขับรถยก หรือหนังสือที่เป็นการมอบหมายให้พนักงานที่มีรายชื่อในหนังสือเป็นผู้ขับรถยกได้
(3) ใบผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด และอาจจะจัดทำ “ใบอนุญาตขับรถยก” ในการควบคุมภายในโรงงานอีกก็ได้
(4) แบบฟอร์มสำหรับตรวจสอบรถยกรถโฟล์คลิฟเป็นเครื่องจักรที่ใช้ในการขนย้ายสินค้าในโกดังและโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ รถโฟล์คลิฟมีหลายประเภท แต่ละประเภทก็มีการใช้งานที่แตกต่างกันไป โดยทั่วไปแล้วรถโฟล์คลิฟจะใช้สำหรับยกของหนักๆ จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง แต่ก็สามารถใช้สำหรับขนย้ายสินค้าที่ไม่หนักมากได้เช่นกัน
นอกจากข้อกำหนดเรื่องรถยกแล้ว กฎกระทรวงยังกำหนดอุปกรณ์ความปลอดภัยที่นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่ เกี่ยวกับงานควบคุมเครื่องจักร ซึ่งรถยกถือว่าเป็นเครื่องจักรด้วยเช่นกัน จึงต้องกำหนดให้สวมหมวกนิรภัยและรองเท้าพื้นยางหุ้มส้น แต่บางบริษัท ก็กำหนดให้ผู้ที่ทำหน้าที่ขับรถยก สวมใส่เสื้อสะท้อนแสงด้วย และกำหนดให้ผู้ที่ต้องเข้าไปในพื้นที่การทำงานของรถยก ต้องสวมใส่เสื้อสะท้อนแสงด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน นอกจากกำหนดให้สวมใส่อุปกรณ์ความปลอดภัยแล้ว นายจ้างยังต้องควบคุมดูแล ให้ลูกจ้างสวมใส่ตลอดระยะเวลาที่ทำงานด้วย
และข้อกำหนดของกฏกระทรวงที่ทำขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้มีการจัดการและควบคุมที่ดี เกิดความปลอดภัยในการทำงาน จึงกำหนดให้มีการ “ตรวจสอบสภาพรถยกก่อนการใช้งานทุกครั้ง” ซึ่งผู้ขับรถยกทุกคน ต้องทำการตรวจสอบก่อนขึ้นขับ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเอง และผู้ปฏิบัติงานคนอื่นๆ นอกจากนี้ทาง Jorpor Plus ยังเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ดีอย่างระบบตรวจสอบพฤติกรรมความปลอดภัย (BBS) ที่จะช่วยสร้างพฤติกรรมความปลอดภัย แนวทางในการลดการบาดเจ็บและลดความเสี่ยง โดยทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำปรึกษาและให้คำแนะนำที่ดีในเรื่องของความปลอดภัยฟรี เพื่อให้องค์กรของคุณมีเทคโนโลยีความปลอดภัยที่ดีเยี่ยม มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8