“รถยก” เป็นอุปกรณ์สำคัญในหลายอุตสาหกรรม แต่หากใช้งานโดยไม่มีความรู้หรือทักษะที่เหมาะสม อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เพื่อยกระดับความปลอดภัยในการทำงาน ประกาศกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เรื่อง หลักสูตรการอบรมลูกจ้างซึ่งจะทำหน้าที่ผู้ขับรถยก 2568 จึงกำหนดให้ลูกจ้างที่ขับรถยกต้องผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด โดยครอบคลุมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานมีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถใช้งานรถยกได้อย่างปลอดภัย ลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สินในสถานประกอบการ

ข้อกำหนดให้นายจ้างจัดอบรมลูกจ้าง

ลูกจ้างที่ทำหน้าที่ขับรถยกทุกประเภทต้องผ่านการฝึกอบรมกรณีรถยกที่ใช้แรงคนหรือไม่มีต้นกำลัง ต้องมีการอบรมตามคู่มือผู้ผลิต ประเภทของรถยกที่กำหนดมี 11 ประเภท ได้แก่

ภาพที่ 1 : ประเภทของรถยก

  • รกยกประเภท Warehouse Forklift
  • รกยกประเภท Side loader
  • รกยกประเภท Counterbalance Forklift
  • รกยกประเภท Reach Truck
  • รกยกประเภท Telehandler
  • รกยกประเภท Industrial forklift
  • รกยกประเภท Rough terrain forklift
  • รกยกประเภท Walkie stacker
  • รกยกประเภท Order picker
  • รกยกประเภท Reach stacker 
  • และรกยกประเภทอื่นๆ

กรณีนายจ้างเป็นผู้จัดฝึกอบรม

ภาพที่ 2 : หากนายจ้างเป็นผู้จัดอบรม

  • แจ้งกำหนดการ
  • สถานที่
  • หลักสูตรการฝึกอบรมตามประเภทของรถยก
  • รายชื่อลูกจ้างที่เข้าการฝึกอบรม
  • พร้อมทั้งรายชื่อและคุณสมบัติวิทยากรต่อพนักงานตรวจความปลอดภัยในเขตพื้นที่รับผิดชอบ ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน หรือสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดที่นายจ้างมีสถานประกอบกิจการตั้งอยู่ไม่น้อยกว่า 7 วัน ก่อนการฝึกอบรม สามารถแจ้งเอกสารด้วยตัวเอง หรือทางไปรษณีย์ ลงทะเบียนตอบรับ หรือวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ระยะเวลาอบรม
และอบรมเพิ่มเติมจากเดิม

ภาพที่ 3 : กรณีนายจ้างไม่สามารถจัดอบรมได้

ภาพที่ 4 : เงื่อนไข 1

  • ปรับระยะเวลาจากเดิมทั้งหมด 6 ชั่วโมง เป็น 12 ชั่วโมง อบรม 2 วัน
  • กรณีลูกจ้างปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับรถยกตามประเภทที่แตกต่างไปจากเดิม หรือปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับรถยกแตกต่างจากหลักสูตรเดิมที่เคยเข้ารับการฝึกอบรม ต้องจัดให้ลูกจ้างเข้าอบรมใหม่ตามประเภทการใช้งานปัจจุบัน ซึ่งระยะเวลาต้องไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง
  • กรณีเคยผ่านการอบรมมาแล้วครบ 12 ชั่วโมง และมีเอกสารหรือหลักฐานการรับรอง ถือว่าผ่าน
  • กรณีเคยผ่านการอบรมมาแล้วแต่ ระยะเวลาน้อยกว่า 12 ชั่วโมง ต้องเข้าอบรมเพิ่มจนครบ 12 ชั่วโมง พร้อมส่งเอกสารและหลักฐานใหม่อีกครั้ง

เนื้อหาอบรมลูกจ้าง
ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นผู้ขับรถยก

หลักสูตรอบรมความปลอดภัยในการขับรถยก การตรวจสอบและบำรุงรักษารถยก 12 ชั่วโมง (2วัน)

ผู้เข้าอบรมจะได้รับการอบรมทั้งภาคทฤษฎี และภาคปฏิบัติ รวมกันไม่น้อยกว่า 12 ชั่วโมง แบ่งเป็นระยะเวลา 2 วัน ซึ่งมีข้อกำหนดเนื้อหาตามกรณี 3 กรณีดังนี้

ภาคทฤษฎี

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎหมายเกี่ยวกับรถยกที่ใช้ก๊าซบิโตรเสียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของรถยกตามลักษณะการใช้งาน (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎระเบียบและข้อบังคับในการทำงานเกี่ยวกับรถยก สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยก และมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้น ๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)

ภาคปฏิบัติ

  • โครงสร้าง ส่วนประกอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกตามประเภทนั้นๆ ตามหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ฝึกปฏิบัติขับรถยกประเภทนั้นๆ ตามเส้นทางตรง ทางโค้ง ทางแยก การหยุด การจอด การให้สัญญาณ การเดินหน้า การถอยหลัง และการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะต่างๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)

ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที , ภาคปฏิบัติ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ชม. 30 นาที

กรณีใช้งานประเภทรถยกต่างจากเดิม

ภาพที่ 5 : เงื่อนไข 2

ภาคทฤษฎี

  • โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้นๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง 30 นาที)

ภาคปฏิบัติ

  • โครงสร้าง ส่วนประกอบ การตรวจสอบ และการบำรุงรักษารถยกตามประเภทนั้นๆ ตามหลักสูตร (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ฝึกปฏิบัติขับรถยกประเภทนั้นๆ ตามเส้นทางตรง ทางโค้ง ทางแยก การหยุด การจอด การให้สัญญาณ การเดินหน้า การถอยหลัง และการยกเคลื่อนย้ายสิ่งของในลักษณะต่างๆ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)

ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที, ภาคปฏิบัติ ต้องไม่น้อยกว่า 2 ชม.

กรณีเคยอบรมน้อยกว่า 12 ชั่วโมง

ภาคทฤษฎี

  • กฎหมายความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎหมายเกี่ยวกับรถยกที่ใช้ก๊าซบิโตรเสียมเหลวเป็นเชื้อเพลิง หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง และมาตรฐานสัญลักษณ์ความปลอดภัย (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับประเภทของรถยกตามลักษณะการใช้งาน (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • ความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับรถยก กฎระเบียบและข้อบังคับในการทำงานเกี่ยวกับรถยก สาเหตุและกรณีศึกษาการเกิดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากรถยก และมาตรการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ (ไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง)
  • โครงสร้าง ส่วนประกอบ อุปกรณ์ แผงควบคุมบังคับ ระบบสัญญาณไฟเตือนของรถยกการใช้งาน การตรวจสอบ และการบำรุงรักษา ตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานเกี่ยวกับรถยกประเภทนั้นๆ (ไม่น้อยกว่า 2 ชั่วโมง 30 นาที)

ทดสอบหลังอบรม : ภาคทฤษฎี ต้องไม่น้อยกว่า 30 นาที

แนวทางการจัดอบรม

ขั้นตอนการอบรม

  • แจ้งกำหนดการ หลักสูตร รายชื่อผู้เข้าอบรม และคุณสมบัติวิทยากรล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน
  • มีการฝึกอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ โดยต้องผ่านเกณฑ์การประเมินไม่ต่ำกว่า 60%
  • ออกเอกสารรับรองหรือวุฒิบัตรให้ผู้ผ่านการอบรม
  • กรณีอบรมนอกสถานที่ (ทำงาน) ต้องดำเนินการจัดอบรมตามประเภทรถยกประเภทเดียวกับที่ปฏิบัติงาน

ข้อกำหนดจำนวนผู้เข้าอบรม

  • ภาคทฤษฎี : ไม่เกิน 60 คนต่อวิทยากร 1 คน
  • ภาคปฏิบัติ : ไม่เกิน 15 คนต่อวิทยากร 1 คน และรถยก 1 คัน

คุณภาพการอบรม

  • มีเอกสารประกอบ อุปกรณ์ และรถยกประเภทเดียวกันกับที่ใช้ปฏิบัติงานจริง
  • การจัดอบรมต้องครบถ้วนทั้งหัวข้อวิชาและระยะเวลาที่กำหนด

ประโยชน์ของการอบรม

  • เพิ่มความปลอดภัย : ลดความเสี่ยงจากการใช้งานรถยกในสถานประกอบการ
  • มาตรฐานการทำงาน : สร้างความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับผู้ขับรถยกแต่ละประเภท
  • เอกสารรับรอง ช่วยให้นายจ้างและลูกจ้างมีเอกสารยืนยันการปฏิบัติตามกฎหมาย

ข้อกำหนดเพิ่มเติม

ผู้ที่ผ่านการอบรมและย้ายสถานประกอบการ สามารถใช้วุฒิบัตรเดิมยืนยันคุณสมบัติได้ เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการอบรมต้องเก็บรักษาให้พร้อมสำหรับการตรวจสอบ

เพื่อให้มั่นใจว่าผู้ขับรถยกและผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่เสี่ยงมีคุณสมบัติครบถ้วนและได้รับการอบรมด้านความปลอดภัยตามข้อกำหนด นายจ้างสามารถใช้  ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus  เพื่อออก Work Permit แบบออนไลน์ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ ระบบยังรองรับการแนบ License ตามประเภทความเสี่ยงของงาน เช่น งานปั้นจั่น เครน รถยก งานอับอากาศ หรืองานที่สูง ทำให้สถานประกอบการสามารถตรวจสอบและควบคุมมาตรฐานความปลอดภัยของผู้รับเหมาและพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดความเสี่ยงในการทำงานและเพิ่มความมั่นใจให้กับทุกฝ่ายในองค์กร มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ภาพที่ 6 : Jorpor Plus

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8