“สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย” คือ สัญลักษณ์แสดงถึงสารเคมีอันตรายที่ระบุอยู่บนภาชนะบรรจุสารเคมี เราสามารถทราบว่าสารเคมีที่พบเป็นสารอันตรายหรือไม่ และก่อให้เกิดอันตรายได้โดย การสังเกตฉลากหรือเครื่องหมาย ซึ่งเป็นเครื่องหมายสากล ที่แสดงไว้ตามสถานที่ต่าง ๆ เช่น ติดบนภาชนะบรรจุ ถังเหล็ก แท็งก์ หรือป้ายที่ติดบนรถยนต์หรือรถบรรทุก ทั้งนี้เพื่อเป็นการแสดง ให้รู้ว่าสารเคมีที่อยู่ ณ ที่นั้นหรือที่บรรทุกมาเป็นสารเคมีประเภทใด ผู้พบเห็นจะได้ระวังและป้องกันอันตรายได้ถูกต้อง ระบบสัญลักษณ์แสดงอันตรายที่รู้จักและนิยมใช้มี 4 ระบบ ได้แก่ ระบบ UN, ระบบ NFPA, ระบบ EEC และระบบ GHS ซึ่งสัญลักษณ์ของทั้ง 4 ระบบนั้น มีดังนี้
ระบบ EEC
ภาพที่ 1 : สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย ระบบ EEC
ตามข้อกำหนดของประชาคมยุโรป ที่ 67/548/EEC สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย (hazard pictogram) จะแบ่งออกตามประเภทของอันตราย โดยใช้รูปภาพสีดำเป็นสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายบนพื้นสี่เหลี่ยมจัตุรัสสีส้ม และมีอักษรย่อกำกับที่มุมขวา ซึ่งสัญลักษณ์เหล่านี้ปรากฏอยู่ที่ฉลากของ สารเคมีที่ใช้ในสหภาพยุโรป
1. สารพิษ (T+/T: Toxic) การสูดดม กลืนกิน หรือดูดซึมผ่านผิวหนังแม้เพียงปริมาณเล็กน้อยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพหรืออาจถึงตายได้ ในกรณีที่ได้รับสารเข้าไปในปริมาณมากหรือสะสมต่อเนื่องเป็นเวลานานจะปรากฏอาการรุนแรง และอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอย่างถาวร โดยเฉพาะผลการก่อมะเร็ง การทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ และก่อการกลายพันธุ์
2. สารอันตราย (Xn : Harmful) การสูดดม การกลืนกิน หรือซึมผ่านผิวหนังอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน หรือเรื้อรัง อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพ ถ้าใช้อย่างไม่เหมาะสม โดยเฉพาะสารซึ่งน่าสงสัยว่าจะเป็นสารก่อมะเร็ง สารก่อการกลายพันธุ์ และสารที่มีพิษต่อระบบสืบพันธุ์ การสูดดมอาจก่อให้เกิดอาการแพ้
3. สารระคายเคือง (Xi : Irritant) แม้จะไม่ได้มีคุณสมบัติกัดกร่อน หากผิวหนังหรือเยื่อเมือกสัมผัสสารนี้ ซ้ำๆ กันหรือเป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิดอาการบวม หากสัมผัสกับผิวหนังอาจก่อให้เกิดอาการแพ้
4. วัตถุไวไฟมาก (F: Highly Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°Cและจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติ
5. วัตถุไวไฟสูงมาก (F+: Extremely Flammable) ของเหลวที่มีจุดวาบไฟต่ำกว่า 0°C และจุดเดือดไม่เกิน 35°C แก๊ส และแก๊สผสมซึ่งไวไฟในอากาศที่อุณหภูมิและความดันปกติ
6. วัตถุระเบิดได้ (E: Explosive) สารเคมีที่เกิดปฏิกิริยาแล้วให้ความร้อนและแก๊สอย่างรวดเร็ว หรือ เมื่อได้รับความร้อนในสภาวะจำกัดจะเกิดการระเบิด หรือ เผาไหม้อย่างรุนแรง
7. สารที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม (N: Dangerous for the environment) การปล่อยสู่สภาพแวดล้อม จะทำให้เกิดความเสียหายต่อองค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมทันที
8. สารออกซิไดส์ (O: Oxidizing) สารเคมีซึ่งโดยปกติไม่ลุกไหม้เอง แต่เมื่อสัมผัสกับสารซึ่งลุกไหม้ได้สามารถให้ออกซิเจน แล้วเร่งการลุกไหม้ได้
9. สารกัดกร่อน (C : Corrosive) สารซึ่งโดยปฏิกิริยาเคมีจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตและกัดกร่อนอุปกรณ์ปฏิบัติการ
ระบบ UN
(United Nations Committee of Experts on
the Transport of Dangerous Goods)
ภาพที่ 2 : จำแนกสารที่เป็นอันตราย ระบบ UN
จำแนกสารที่เป็นอันตรายและเป็นเหตุให้ถึงแก่ชีวิตได้ หรือก่อให้เกิดความเสียหาย ออกเป็น 9 ประเภท (UN-Class) ตามลักษณะที่ก่อให้เกิดอันตรายหรือความเสี่ยงในการเกิดอันตราย
1. ระเบิดได้ (Explosives) : ของแข็งหรือของเหลว หรือสารผสมที่สามารถเกิดปฏิกิริยาทางเคมีด้วยตัวมันเอง ทำให้เกิดแก๊สที่มีความดัน และความร้อนอย่างรวดเร็ว ก่อให้เกิดการระเบิดสร้างความเสียหายแก่บริเวณโดยรอบได้ ซึ่งรวมถึงสารที่ใช้ทำดอกไม้เพลิงและสิ่งของที่ระเบิดได้ด้วย
2. แก๊ส (Gases) : สารที่อุณหภูมิ 50°C มีความดันไอมากกว่า 300 kP หรือมีสภาพเป็นแก๊สอย่าง สมบูรณ์ที่อุณหภูมิ 20°C และมีความดัน 101.3 kP ได้แก่ แก๊สอัด แก๊สพิษ แก๊สในสภาพของเหลว แก๊สในสภาพของเหลวอุณหภูมิต่ำ และรวมถึงแก๊สที่ละลายในสารละลายภายใต้ความดัน เมื่อเกิดการรั่ว ไหลสามารถก่อให้เกิดอันตรายจากการลุกติดไฟและ/หรือเป็นพิษและแทนที่ออกซิเจนในอากาศ
3. ของเหลวไวไฟ (Flammable Liquids) : ของเหลวหรือของเหลวผสมที่มีจุดวาบไฟ (Flash Point) ไม่เกิน 60.5°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยปิด หรือไม่เกิน 65.6°C จากการทดสอบด้วยวิธีถ้วยเปิด ไอของเหลวไวไฟพร้อมลุกติดไฟเมื่อมีแหล่งประกายไฟ เช่น แอซีโตน น้ำมันเชื้อเพลิง ทินเนอร์ เป็นต้น
4. ของแข็งไวไฟ (Flammable solid) : สารที่ลุกไหม้ได้เองและสารที่สัมผัสกับน้ำแล้วให้แก๊สไวไฟ
5. สารออกซิไดซ์และสารอินทรีย์เปอร์ออกไซด์ (Oxidizing and Organic peroxide)
6. สารพิษและสารติดเชื้อ (Toxic )
7. วัสดุกัมมันตรังสี (Radioactivity) : วัสดุที่สามารถแผ่รังสีที่มองไม่เห็นอย่างต่อเนื่องมากกว่า 0.002 ไมโครคูรีต่อกรัม เช่น โมนาไซด์ ยูเรเนียม โคบอลต์-60 เป็นต้น
8. สารกัดกร่อน (Corrosion) : ของแข็งหรือของเหลวซึ่งโดย ปฏิกิริยาเคมีมีฤทธิ์กัดกร่อนทำความเสียหาย ต่อเนื้อเยื่อของสิ่งมีชีวิตอย่างรุนแรงหรือ ทำลายสินค้า/ยานพาหนะที่ทำการขนส่ง เมื่อเกิดการรั่วไหลของสารไอระเหยของ สารประเภทนี้ บางชนิดก่อให้เกิดการ ระคายเคืองต่อจมูกและตา เช่น HCl, H2SO4, NaOH เป็นต้น
9. วัสดุอันตรายเบ็ดเตล็ด (Miscellaneous Dangerous Substances and Articles) : สารหรือสิ่งของที่ในขณะขนส่งเป็นสารอันตรายซึ่งไม่จัดอยู่ในประเภทที่ 1 ถึง 8 เช่น ปุ๋ยแอมโมเนียมไนเตรต เป็นต้น และให้รวมถึงสารที่ต้องควบคุมให้มีอุณหภูมิไม่ต่ำกว่า 100°C ในสภาพของเหลวหรือมีอุณหภูมิ ไม่ต่ำกว่า 240°C ในสภาพของแข็งในระหว่างการขนส่ง
ระบบ NFPA
(The National Fire Protection Association)
ภาพที่ 3 : สัญลักษณ์แสดง ระบบ NFPA
ของสหรัฐอเมริกา กำหนดสัญลักษณ์แสดงอันตรายเป็นรูปเพชร (Diamond-shape) เพื่อใช้ในการป้องกันและตอบโต้เหตุเพลิงไหม้ สัญลักษณ์ดังกล่าวมีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสที่วางตั้งตามแนวเส้นทแยงมุม ภายในแบ่งออกเป็นสี่เหลี่ยมย่อย ขนาดเท่ากัน 4 รูป ใช้พื้นที่กำกับ 4 สี ได้แก่
- สีแดง แสดงอันตรายจากไฟ (Flammability)
- สีน้ำเงิน แสดงอันตรายต่อสุขภาพ (Health)
- สีเหลือง แสดงความไวต่อปฏิกิริยาของสาร (Reactivity)
- สีขาว แสดงคุณสมบัติพิเศษของสาร และใช้ตัวเลข 0 ถึง 4 แสดงถึงระดับอันตราย
ระบบ GHS
(Globally Harmonized System of Classification and Labelling of Chemicals)
ภาพที่ 4 : สัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตราย ระบบ GHS
คือระบบสากลการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายและการติดฉลากสารเคมีที่เป็นระบบเดียวกันทั่วโลก พัฒนาขึ้นโดยองค์การสหประชาชาติเพื่อให้ทั่วโลกมีการจัดกลุ่มความเป็นอันตรายของสารเคมีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยคํานึงถึงความเป็นอันตรายทางด้านกายภาพ สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม พร้อมกําหนดมาตรฐานการสื่อสารความเป็นอันตรายในรูปของฉลากและเอกสารข้อมูลความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี รูปสัญลักษณ์แสดงความเป็นอันตรายมี 9 รูป ได่แก่
1. Explosive (GHS01) เป็นวัตถุระเบิด เป็นสารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง
2. Flammable (GHS02) เป็นสารไวไฟ, สารที่ทำปฏิกิริยาได้ด้วยตนเอง, สารที่ลุกติดไฟได้เอง, สารที่เกิดความร้อนได้เอง
3. Oxidizing (GHS03) สารออกซิไดส์, สารเปอร์ออกไซด์
4. Compressed Gas (GHS04) ก๊าซบรรจุภายใต้ความดัน
5. Corrosive (GHS05) สารกัดกร่อน, มีพิษต่อดวงตาและผิวหนัง
6. Toxic (GHS06) สารที่มีพิษเฉียบพลัน อันตรายถึงชีวิต
7. Harmful (GHS07) สารที่มีพิษเฉียบพลัน เป็นอันตราย ทำให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง มีผลต่อทางเดินหายใจ
8. Health Hazard (GHS08) สารที่เป็นพิษต่อสุขภาพ, สารก่อมะเร็ง, เป็นพิษต่อระบบสืบพันธุ์
9. Environmental Hazard (GHS09) สารที่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อม เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
ปัจจุบันมีหลายแหล่งอุตสาหกรรมที่มีการใช้งานสารเคมีอันตราย และมีการจัดเก็บสารเคมีไม่ถูกวิธี ซึ่งอาจทำให้เกิดการระเหยซึ่งถ้าสารเคมีที่ระเหยไปเจอกับฉนวนที่ทำให้เกิดการระเบิดได้ อาจทำให้พื้นที่บริเวณโดยรอบได้รับอันตรายโดยทันที การให้ความสำคัญและศึกษาสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมที่จะต้องปฏิบัติ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการจัดเก็บ ข้อควรระวัง รวมถึงถ้ามีการสัมผัสสารเคมีก็มีการปฐมพยาบาลเบื้องต้นได้อย่างถูกต้อง
ดังนั้นผู้ที่ปฏิบัติงานกับสารเคมีควรที่จะศึกษาสัญลักษณ์ความเป็นอันตรายของสารเคมีทุกตัว และจัดเก็บให้ถูกต้อง ผู้ปฏิบัติงานที่อยู่ใกล้ชิดกับสารเคมีก็ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลให้ถูกต้องด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ JorPor Plus มีตัวช่วยดีๆ อย่างระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) จาก JorPor Plus ที่จะช่วยให้พนักงานรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และบันทึกจัดเก็บเป็นข้อมูลได้ ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8