“ความร้อน แสงสว่าง และเสียง” ในโรงงานอุตสาหกรรม นับว่าเป็นเรื่องที่นายจ้างควรให้ความสำคัญต่อลูกจ้างเป็นอย่างมาก เนื่องจากการทำงานจะมีความเสี่ยงต่อผู้ปฏิบัติงาน เช่น แสงสว่างในพื้นที่การทำงานไม่เพียงพออาจส่งกระทบต่อสายตาของลูกจ้าง และถ้าพื้นที่การทำงานมีเสียงดังเกินมาตรฐานกำหนด หรือพื้นที่การทำงานมีความร้อนสูง อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพของลูกจ้าง หรือถึงขั้นสูญเสียการได้ยินได้ ดังนั้นจึงมีกฏหมายเพื่อรับรองมาตรฐานความปลอดภัยของลูกจ้างและนายจ้าง ตามกฎกระทรวงกําหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดําเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทํางานเกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง และเสียง พ.ศ. 2559

ความหนักเบาของงาน

ภาพที่ 1 : ความหนักเบาของงาน

  • งานเบา : ใช้แรงน้อย เผาผลาญพลังงานไม่เกิน 200 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง เช่น งานเอกสาร งานเย็บจักร งานตรวจสอบผลิตภัณฑ์
  • งานปานกลาง : ใช้แรงปานกลาง เผาผลาญ 200-350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง เช่น งานยกของ ตอกตะปู ขับรถบรรทุก
  • งานหนัก : ใช้แรงมาก เผาผลาญเกิน 350 กิโลแคลอรี/ชั่วโมง เช่น งานขุด ตัก ทุบ ยกของหนักขึ้นที่สูง

ความร้อน

ภาพที่ 2 : ความร้อน

ข้อ 2 ให้นายจ้างควบคุมและรักษาระดับความร้อนภายในสถานประกอบกิจการที่มีลูกจ้าง ทํางานอยู่ไม่ให้เกินมาตรฐาน ดังต่อไปนี้

  • งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานเบา : ความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ยอุณหภูมิ เวตบัลบ์โกลบ 34°C
  • งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานปานกลาง : ความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 32°C
  • งานที่ลูกจ้างทําในลักษณะงานหนัก : ความร้อนไม่เกินค่าเฉลี่ย อุณหภูมิเวตบัลบ์โกลบ 30°C

ภาพที่ 3 : ติดป้ายเตือน

 ข้อ 3 หากมีแหล่งความร้อนที่อาจเป็นอันตรายในสถานประกอบกิจการ นายจ้างต้องติดป้ายเตือนให้เห็นชัดเจน

หากระดับความร้อนในพื้นที่ทำงานเกินมาตรฐานที่กำหนด (ข้อ 2) นายจ้างต้องดำเนินการแก้ไขโดยใช้มาตรการทางวิศวกรรมเพื่อลดความร้อนให้อยู่ในเกณฑ์ และต้องจัดทำเอกสารหลักฐานการแก้ไขเพื่อให้พนักงานตรวจสอบความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้

หากไม่สามารถลดความร้อนให้อยู่ในระดับมาตรฐานได้ นายจ้างต้องจัดมาตรการควบคุมภาระงาน พร้อมทั้งให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลตามข้อกำหนดตลอดเวลาทำงาน

แสงสว่าง

ภาพที่ 4 : ความเข้มของแสงสว่าง

ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดให้สถานประกอบกิจการมีความเข้มของแสงสว่างไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน ตามที่กําหนด

ข้อ 5 นายจ้างต้องใช้ฉาก ฟิล์มกรองแสง หรือมาตรการที่เหมาะสม เพื่อป้องกันแสงจ้าส่องเข้าตาลูกจ้างขณะทำงาน หากป้องกันไม่ได้ ต้องให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันดวงตาตลอดเวลาทำงาน

ภาพที่ 5 : อุปกรณ์ส่องแสงว่าง

ข้อ 6 หากลูกจ้างต้องทำงานในที่มืด อับ หรือคับแคบ เช่น ถ้ำหรืออุโมงค์ นายจ้างต้องจัดให้มีแสงสว่างที่เหมาะสม ทั้งแบบติดตั้งในพื้นที่หรือพกพา หากทำไม่ได้ ต้องให้ลูกจ้างสวมอุปกรณ์ป้องกันตลอดเวลาทำงาน

เสียง

ข้อ 7 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงในสถานประกอบกิจการ ไม่ให้เสียงกระแทกเกิน 140 เดซิเบล หรือเสียงดังต่อเนื่องเกิน 115 เดซิเบลเอ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของลูกจ้าง

ข้อ 8 นายจ้างต้องควบคุมระดับเสียงที่ลูกจ้างได้รับเฉลี่ยตลอดเวลาการทํางานในแต่ละวัน (Time Weighted Average-TWA) ไม่ให้เกินมาตรฐานตามที่กําหนด

ข้อ 9 หากระดับเสียงในสถานประกอบกิจการเกินมาตรฐานที่กำหนด นายจ้างต้องให้ลูกจ้างหยุดงานชั่วคราวจนกว่าจะแก้ไขให้เป็นไปตามมาตรฐาน โดยดำเนินการปรับปรุงทางวิศวกรรม เช่น ควบคุมเสียงที่ต้นกำเนิดหรือเส้นทางผ่าน และบริหารจัดการเพื่อลดเสียงที่ลูกจ้างได้รับ พร้อมจัดทำเอกสารหลักฐานให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้ในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการตามวรรค 1 ได้ นายจ้างต้องจัดให้ลูกจ้างสวมใส่อุปกรณ์ คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามที่กําหนดไว้ตลอดเวลาที่ทํางาน เพื่อลดระดับเสียงที่สัมผัสในหูเมื่อสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลแล้ว โดยให้อยู่ในระดับที่ไม่เกิน มาตรฐานตามที่กําหนดไว้ในข้อ 7 และข้อ 8

ภาพที่ 6 : เครื่องหมายเตือน

ข้อ 10 ในบริเวณที่มีระดับเสียงเกินมาตรฐานที่กําหนดในข้อ 7 หรือข้อ 8 นายจ้างต้อง จัดให้มีเครื่องหมายเตือนให้ใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลติดไว้ให้ลูกจ้างเห็นได้โดยชัดเจน

ภาพที่ 7 : มาตรการอนุรักษ์การได้ยิน

ข้อ 11 หากลูกจ้างได้รับเสียงเฉลี่ยตลอด 8 ชั่วโมง ตั้งแต่ 85 เดซิเบลเอขึ้นไป นายจ้างต้องดำเนินมาตรการอนุรักษ์การได้ยิน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนด

อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล

ภาพที่ 8 :อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัย

ข้อ 12 นายจ้างต้องจัดหาและดูแลให้ลูกจ้างใช้อุปกรณ์ป้องกันตามลักษณะงาน ดังนี้

  • งานที่มีความร้อนเกินมาตรฐาน : สวมชุดป้องกันความร้อน รองเท้า และถุงมือ
  • งานที่มีแสงจ้าเข้าตา : ใช้แว่นหรือลดแสงหรือกระบังหน้าลดแสง
  • งานในที่มืด ทึบ คับแคบ : สวมหมวกนิรภัยพร้อมไฟส่องสว่าง
  • งานที่มีเสียงเกินมาตรฐาน : ใช้ปลั๊กลดเสียงหรือที่ครอบหูลดเสียง

ข้อ 13 นายจ้างต้องดูแลอุปกรณ์ความปลอดภัยส่วนบุคคลให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้งานเสมอ รวมทั้งจัดอบรมลูกจ้างเรื่องการใช้งานและบำรุงรักษาอุปกรณ์ พร้อมเก็บหลักฐานการอบรมไว้ที่สถานประกอบกิจการเพื่อให้ตรวจสอบได้ง่าย

การตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทํางาน
และการรายงานผล

ข้อ 14 นายจ้างต้องจัดการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานที่เกี่ยวกับความร้อน แสงสว่าง หรือเสียงภายในสถานประกอบกิจการตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีประกาศกำหนด หากไม่สามารถทำเองได้ ต้องใช้บริการจากผู้ที่ได้รับการขึ้นทะเบียนหรือได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินการแทน และต้องเก็บผลการตรวจวัดไว้เพื่อให้ตรวจสอบได้

ภาพที่ 9 : ตรวจวัดและวิเคราะห์

ข้อ 15 นายจ้างต้องจัดทำรายงานผลการตรวจวัดและวิเคราะห์สภาวะการทำงานตามแบบที่อธิบดีประกาศกำหนด และส่งรายงานไปยังอธิบดีหรือผู้ที่อธิบดีมอบหมายภายใน 30 วันหลังจากการตรวจวัดเสร็จสิ้น พร้อมทั้งเก็บรายงานไว้ที่สถานประกอบกิจการเพื่อให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้

การตรวจสุขภาพและการรายงานผล

ภาพที่ 10 : ตรวจสุขภาพลูกจ้าง

 ข้อ 16 นายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสุขภาพลูกจ้างที่ทำงานในสภาวะที่เสี่ยงจากความร้อน แสงสว่าง หรือเสียง และรายงานผลการตรวจสุขภาพตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ. 2554

การดูแลและจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัยเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของการควบคุมระดับความร้อน แสงสว่าง และเสียงให้เป็นไปตามมาตรฐาน เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับพนักงาน นอกจากนี้ยังต้องมีการเตรียมอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลเพื่อให้พนักงานทุกคนสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย

ในกรณีที่พบว่ามีจุดหรือสถานการณ์ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยในพื้นที่ทำงาน ระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) ของ Jorpor Plus จะช่วยให้การรับรู้และการจัดการกับความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ทันที เมื่อพนักงานหรือหัวหน้างานพบเหตุการณ์ที่อาจเป็นอันตราย สามารถรายงานสถานการณ์ผ่านระบบได้อย่างรวดเร็ว และข้อมูลจะถูกส่งถึงเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) เพื่อให้สามารถดำเนินการแก้ไขได้อย่างทันท่วงที

ด้วยการใช้งาน ระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) ของ Jorpor Plus การจัดการความเสี่ยงจึงเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยรับประกันความปลอดภัยของพนักงานทุกคนในพื้นที่ทำงานและลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุในระหว่างการทำงานได้อย่างสูงสุด มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8