“อุบัติเหตุ” ในโรงงานปี 2567 พุ่งสูง อัคคีภัยครองสัดส่วนมากที่สุด
จากสถิติของกรมโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดปี 2567 พบว่า อัคคีภัยเป็นอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด โดยมี 107 ครั้ง หรือประมาณ 75% ของอุบัติเหตุทั้งหมด นอกจากนี้ แนวโน้มในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ยังสะท้อนถึงสถานการณ์ที่น่ากังวล เนื่องจากจำนวนอัคคีภัยในโรงงานเพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 8 ปี
โรงงานประเภทใดเสี่ยงไฟไหม้มากที่สุด?
ภาพที่ 1 : ประเภทโรงงานที่เกิดอัคคีภัยบ่อยที่สุด
จากข้อมูลสถิติ โรงงาน 5 ประเภทที่เกิดไฟไหม้บ่อยที่สุดในปี 2567 ได้แก่
- โรงงานทั่วไป เช่น โรงซ่อมเครื่องจักร โรงงานโลหะ หล่อหลอม โกดังเก็บสินค้า โรงไฟฟ้า
- โรงงานพลาสติก โฟม กระดาษ ยาง ซึ่งเป็นวัสดุไวไฟ
- โรงงานอาหาร เช่น โรงงานแปรรูปอาหาร แป้ง มันสำปะหลัง อาหารสัตว์
- โรงงานกำจัดกากของเสีย และรีไซเคิลขยะอุตสาหกรรม
- โรงงานแปรรูปไม้ ซึ่งมีฝุ่นไม้ที่เป็นเชื้อเพลิง
อุบัติเหตุอื่นๆ ที่พบในโรงงาน
ภาพที่ 2 : สถิติการเกิด อุบัติเหตุ
แม้ว่าไฟไหม้จะเป็นเหตุที่พบมากที่สุด แต่ยังมีอุบัติเหตุประเภทอื่นที่เกิดขึ้นในปี 2567 ได้แก่
- สารเคมีรั่วไหล 19 ครั้ง คิดเป็น 3% ของอุบัติเหตุทั้งหมด
- อุบัติเหตุจากเครื่องจักรและการทำงาน 7 ครั้ง
- เหตุระเบิด 5 ครั้ง
- อุบัติเหตุอื่นๆ 4 ครั้ง
ปัญหาที่ซ่อนอยู่
อุบัติเหตุที่ไม่ได้บันทึกและมลพิษโรงงาน
แม้ว่าสถิตินี้จะเป็นตัวเลขทางการจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม แต่ก็เชื่อว่า ยังมีอุบัติเหตุอีกจำนวนมากที่ไม่ได้รับการบันทึก เช่น อุบัติเหตุที่เกิดกับแรงงานโดยตรง โรงงานถล่ม หรือเหตุการณ์อื่นๆ ที่อาจไม่ได้รายงานอย่างเป็นทางการ
นอกจากนี้ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ มลพิษจากโรงงานอุตสาหกรรม เช่น
- การลักลอบทิ้งน้ำเสีย
- การปล่อยมลพิษทางอากาศเกินมาตรฐาน
- การจัดการกากอุตสาหกรรมที่ไม่ถูกต้อง
ก็ยังไม่มีการเปิดเผยตัวเลขที่ชัดเจน แต่ปัญหาเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพของประชาชน และความปลอดภัยของแรงงานในระยะยาว
ปัญหาและผลกระทบที่ตามมาจากอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน
ภาพที่ 3 : ผลกระทบและปัญหา
อุบัติเหตุในสถานที่ทำงานไม่เพียงแต่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความปลอดภัยของพนักงาน แต่ยังมีผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคม ดังนี้
ความสูญเสียทางตรง
- ค่ารักษาพยาบาล
- ค่าทดแทนและค่าทำขวัญ
- การสูญเสียอวัยวะหรือชีวิต
- การเกิดโรคจากการทำงาน
ความสูญเสียทางอ้อม
- พนักงาน : ความบาดเจ็บ, ความพิการ, การเสียขวัญและกำลังใจ
- ครอบครัว : การสูญเสียคนรัก, ขาดรายได้, สูญเสียโอกาส
- นายจ้าง : ผลผลิตลดลง, ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมพนักงานใหม่
- ประเทศชาติ : ขาดกำลังคนชำนาญงาน, เศรษฐกิจเสียหาย
สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน
ภาพที่ 4 : สาเหตุที่เกิดอุบัติเหตุ
สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุในสถานที่ทำงาน ได้แก่
การปฏิบัติงานและสิ่งแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย
- ใช้อุปกรณ์เครื่องมือโดยไม่ศึกษา
- ทำงานโดยไม่ประเมินกำลังของตนเอง
- ขาดการซ่อมบำรุง
- ไม่มีป้ายสัญญาณเตือน
- สถานที่ทำงานสกปรก, ระบายอากาศแย่, แสงสว่างไม่เพียงพอ
การบริหารความเสี่ยงที่ไม่เหมาะสม
- ไม่มีการอบรมก่อนเข้าทำงาน
- กฎระเบียบที่หย่อนยาน
- ไม่มีการซักซ้อมรับมืออุบัติเหตุ
Jorpor Plus ระบบบริหารความปลอดภัยที่ช่วยลดอุบัติเหตุ
ภาพที่ 5 : ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน
เพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้ Jorpor Plus เป็นแพลตฟอร์มที่ออกแบบมาเพื่อบริหารจัดการความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน โดยมีฟีเจอร์สำคัญดังนี้
- ระบบขออนุญาตทำงานออนไลน์ : ลดขั้นตอนยุ่งยาก ไม่ต้องใช้เอกสาร ลดความผิดพลาดจากการจัดเก็บข้อมูลแบบกระดาษ
- การอบรมและทดสอบความปลอดภัยผ่านระบบดิจิทัล : ให้พนักงานและผู้รับเหมาเข้าถึงการฝึกอบรมได้ง่ายขึ้น ช่วยให้ทุกคนมีความรู้ด้านความปลอดภัยก่อนเริ่มงาน
- ระบบแจ้งเตือนความเสี่ยงแบบเรียลไทม์ : ช่วยให้เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป.) สามารถรับมือกับเหตุการณ์ผิดปกติได้ทันที ลดระยะเวลาการตอบสนอง
- การบันทึกและวิเคราะห์ข้อมูลอุบัติเหตุ : นำข้อมูลมาวิเคราะห์เพื่อลดโอกาสเกิดเหตุซ้ำซ้อน และปรับปรุงมาตรการความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้งาน
- ลดจำนวนอุบัติเหตุ : เมื่อมีระบบที่ช่วยควบคุมความปลอดภัยแบบเรียลไทม์ การทำงานในพื้นที่เสี่ยงจะปลอดภัยขึ้น
- เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน : ลดขั้นตอนการขออนุญาต ลดเวลาในการอนุมัติ ทำให้การทำงานรวดเร็วขึ้น
- ลดการใช้กระดาษ ช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม : การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลช่วยลดขยะจากเอกสาร ลดต้นทุนการพิมพ์และจัดเก็บ
- เสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในองค์กร : เมื่อมีการบันทึกและติดตามข้อมูลความปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง พนักงานและผู้บริหารจะให้ความสำคัญกับความปลอดภัยมากขึ้น
ภาพที่ 6 : มาตรฐานรองรับ
ภาพที่ 7 : ลูกค้าหลายเจ้าเลือกใช้
ถึงเวลาที่ต้องเปลี่ยนแปลง! อย่าปล่อยให้อุบัติเหตุเป็นเพียงเรื่องที่ต้องแก้ไขภายหลัง เริ่มต้นสร้างสถานที่ทำงานที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้นตั้งแต่วันนี้ ด้วย ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus ทดลองใช้ฟรีวันนี้! กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8