การทำงานกับเครื่องจักร หากผู้ปฏิบัติงานไม่ได้รับการฝึกอบรมหรือขาดความรู้ในเรื่องของการทำงานกับเครื่องจักร อาจส่งผลก่อให้เกิดอันตรายจากการทำงาน ได้รับบาดเจ็บเล็กน้อย หรือถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้นจึงต้องมีกฎหมายควบคุมและดูแลความปลอดภัยในการปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร ปั้นจั่น และหม้อน้ำ พ.ศ. 2564
ภาพที่ 1 : เครื่องจักร
นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร
ปฏิบัติดังต่อไปนี้
ภาพที่ 2 : ผู้ที่ทำงานกับเครื่องจักร
- สวมใส่เครื่องนุ่งห่มให้เรียบร้อยรัดกุม
- ไม่สวมใส่เครื่องประดับที่อาจเกี่ยวโยงกับสิ่งหนึ่งสิ่งใดได้
- รวบผมที่ปล่อยยาวเกินสมควรหรือทำอย่างหนึ่งอย่างใดให้อยู่ในลักษณะที่ปลอดภัย
นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการติดตั้ง ซ่อมแซม
หรือตรวจสอบเครื่องจักร
ภาพที่ 3 : ติดป้ายแสดงเมื่อต้องซ่อมแซมเครื่องจักร
- นายจ้างต้องติดป้ายแสดงการติดตั้ง ซ่อมแซม หรือตรวจสอบเครื่องจักร พร้อมเครื่องหมายหรือข้อความที่ชัดเจน และจัดให้มีระบบหรืออุปกรณ์ป้องกันไม่ให้เครื่องจักรทำงาน รวมทั้งแขวนป้ายห้ามเปิดสวิตช์ที่เครื่องจักรด้วย
ต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน
ภาพที่ 4 : จัดทำคู่มือการใช้งานเครื่องจักร
- นายจ้างต้องปฏิบัติตามรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งานที่ผู้ผลิตกำหนดในการประกอบ ติดตั้ง ทดสอบ ใช้ ซ่อมแซม บำรุงรักษา ตรวจสอบ รื้อถอน หรือเคลื่อนย้ายเครื่องจักร เช่น รถยก ลิฟต์ หรือเครื่องจักรยกคน หากไม่มีคู่มือดังกล่าวต้องให้วิศวกรจัดทำและมีสำเนาเอกสารไว้ให้พนักงานตรวจสอบ นอกจากนี้ต้องเป็นเอกสารที่ลูกจ้างสามารถศึกษาภาษาไทยหรือภาษาอื่นที่เข้าใจได้ สำหรับการเคลื่อนย้ายเครื่องจักรหนักตั้งแต่ 1 ตันขึ้นไป ต้องมีแผนป้องกันอันตรายและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ตรวจสอบเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดี
และปลอดภัยก่อนการใช้งาน
ภาพที่ 5 : ตรวจสอบเครื่องจักรก่อนใช้งาน
- นายจ้างต้องดูแลให้ลูกจ้างซึ่งทำงานกับเครื่องจักรตรวจสอบเครื่องจักรนั้นให้อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีและปลอดภัยก่อนการใช้งาน และนายจ้างต้องจัดให้มีการตรวจสอบประจำปี
ห้ามเครื่องจักรทำงานเกินพิกัด
หรือขีดความสามารถที่กำหนด
ภาพที่ 6 : ห้ามใช้เตรื่องจักรเกินพิกัด
- นายจ้างต้องไม่ใช้หรือยอมให้ลูกจ้างใช้เครื่องจักรทำงานเกินพิกัด หรือขีดความสามารถที่กำหนดไว้ในรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน
ต้องจัดให้มีข้อความเกี่ยวกับวิธีการทำงานกับเครื่องจักร
ภาพที่ 7 : ทำข้อความวิธีการใช้งานเครื่อง
- นายจ้างต้องจัดให้มีข้อความเกี่ยวกับวิธีการทำงานกับเครื่องจักร เช่น เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องขัด เครื่องกัด เครื่องตัด เครื่องกลึง เครื่องไส เครื่องเจีย เครื่องเจาะ เครื่องพับ เครื่องม้วน หรือเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายจากการใช้งานตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ติดไว้บริเวณที่ลูกจ้างทำงาน
จัดให้มีการประเมินอันตรายของเครื่องจักร
ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย
ภาพที่ 8 : ประเมินอันตรายของเครื่องจักร
- นายจ้างต้องจัดให้มีการประเมินอันตรายของเครื่องจักรที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ เช่น เครื่องบด เครื่องโม่ เครื่องตัดน้ำแข็ง เครื่องเลื่อยสายพาน เครื่องเลื่อยวงเดือน เลื่อยยนต์ หรือเครื่องจักรอื่นตามที่อธิบดีประกาศกำหนด โดยต้องประกอบด้วยการบ่งชี้อันตราย การประเมินความเสี่ยง และแผนบริหารจัดการความเสี่ยง
ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอน
และวิธีการทำงานที่ปลอดภัยเกี่ยวกับเครื่องจักร
ภาพที่ 9 : ผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการอบรมเกี่ยวกับเครื่องจักร
- นายจ้างต้องใช้ลูกจ้างที่ผ่านการอบรมเกี่ยวกับขั้นตอนและวิธีการทำงานที่ปลอดภัย การป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร รวมถึงรายละเอียดโครงสร้างอุปกรณ์ การตรวจสอบและบำรุงรักษาเครื่องจักร เช่น เครื่องปั๊มโลหะ เครื่องเชื่อมไฟฟ้า เครื่องเชื่อมก๊าซ หรือเครื่องจักรอื่นที่อาจก่อให้เกิดอันตราย โดยอบรมจากวิทยากรที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรแต่ละประเภท ตามหลักสูตรที่อธิบดีประกาศกำหนด
ต้องบำรุงรักษาและดูแลป้องกันอันตรายจากเครื่องจักร
ภาพที่ 10 : บำรุงและดูแลรักษาเครื่องจักร
- นายจ้างต้องบำรุงรักษาและดูแลป้องกันอันตรายจากเครื่องจักรให้อยู่ในสภาพที่สามารถป้องกันอันตรายได้
- นายจ้างต้องจัดให้ทางเดินเข้าออกจากพื้นที่สำหรับปฏิบัติงานเกี่ยวกับเครื่องจักรมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 เซนติเมตร
ต้องจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงเขตอันตราย
ภาพที่ 11 : ทำรั้วกั้น แสดงเขตอันตราย
- นายจ้างต้องจัดทำรั้ว คอกกั้น หรือเส้นแสดงเขตอันตราย ณ บริเวณที่ตั้งของเครื่องจักรให้ลูกจ้างเห็นได้ชัดเจน และต้องดูแลไม่ให้ลูกจ้างซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณดังกล่าว
- นายจ้างต้องติดตั้งเครื่องป้องกันวัสดุตกหล่นบริเวณสายพานลำเลียงเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้าง และต้องมีอุปกรณ์ฉุกเฉินที่สามารถหยุดการทำงานของสายพานได้ทันที ติดตั้งในตำแหน่งที่เหมาะสม พร้อมใช้งานและเห็นได้ชัดเจน
ห้ามหรือควบคุมผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่
ภาพที่ 12 : ห้ามผู้ไม่เกี่ยวข้องเข้าพื้นที่
- นายจ้างต้องควบคุมดูแลไม่ให้ผู้ซึ่งไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณเส้นทางสายพานลำเลียง
จัดให้มีวิศวกรควบคุมดูแลการติดตั้งเครื่องจักร
ที่ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์
ภาพที่ 13 : วิศวกรต้องดูการติดตั้งเครื่องจักร
- นายจ้างต้องจัดให้มีวิศวกรควบคุมดูแลการติดตั้งเครื่องจักรที่ควบคุมโดยระบบอิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์ ในบริเวณพื้นที่ที่มีกระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนำจนอาจมีผลทำให้การทำงานของเครื่องจักรผิดปกติและก่อให้เกิดอันตรายต่อลูกจ้าง
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงานกับเครื่องจักรสามารถป้องกันได้ หากทุกองค์กรมีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานคอยปฏิบัติหน้าที่และดูแลด้านความปลอดภัยในการทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรอย่างใกล้ชิด เพราะเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงานจะจัดเตรียมแผนงานปฏิบัติใช้งานเครื่องจักรอยู่ถูกวิธี รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันและจัดเตรียมเครื่องป้องกันส่วนบุคคลให้กับพนักงานและเจ้าหน้าที่ทุกคนที่ต้องปฏิบัติงาน
ภาพที่ 14 : หากซ่อมแซม เครื่องจักร ต้องขออนุญาตทำงานทุกครั้ง
อีกทั้งเมื่อมีการติดตั้ง หรือซ่อมแซมเครื่องจักร โดยพนักงานภายใน หรือผู้รับเหมา จะต้องทำการขออนุญาตในการทำงานก่อนทุกครั้ง เพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของเครื่องมือที่ใช้งาน รวมถึงการอบรมความปลอดภัยก่อนที่จะเข้าทำงาน โดย ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus สามารถให้ผู้รับเหมา เจ้าของงาน หรือเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย ขอใบอนุญาตในการทำงานแบบออนไลน์ได้ โดยไม่ต้องพึ่งกระดาษ อีกทั้งยังให้ผู้รับเหมาอบรมและทำข้อสอบแบบออนไลน์ได้ รวมถึงประเมินความเสี่ยงจากการทำงานได้ทั้งก่อน ระหว่างและหลังปฏิบัติงาน ทั้งครอบคลุมตลอดการทำงาน มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8