“เสียงดัง” ในโรงงานอุตสาหกรรมแทบทุกประเภท ล้วนต้องใช้เครื่องจักรซึ่งมักก่อให้เกิดเสียงดังรบกวน การหาวิธีควบคุมเสียงเพื่อมิให้ส่งผลต่อทั้งสุขภาพของพนักงานในโรงงาน รวมถึงผู้คนในพื้นที่ใกล้เคียง จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงสำหรับผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมทุกท่าน
เสียงที่มีความดังในระดับ 85 เดซิเบลขึ้นไปนั้น ทางองค์การอนามัยโลกถือว่าอันตรายต่อร่างกายคน และเป็นระดับเสียงที่อาจเกิดขึ้นได้ง่ายสำหรับโรงงานอุตสาหกรรมเกือบทุกประเภทซึ่งล้วนต้องใช้เครื่องจักร ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงงานอุตสาหกรรมจึงควรทำความเข้าใจเรื่องของการลดและป้องกันเสียงดังด้วยกัน รวมถึงการออกแบบห้องเก็บเสียงในโรงงาน เพื่อใช้ในการควบคุมระดับเสียงจากโรงงานให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานและเป็นมิตรกับพนักงาน รวมถึงผู้คนที่อยู่อาศัยในบริเวณใกล้เคียงด้วย
ภาพที่ 1 : อันตรายจากเสียงดังในโรงงาน
เสียงดัง มีกี่ประเภท
ภาพที่ 2 : เสียงดัง มีกี่ประเภท
เสียงใดก็ตามรอบข้างที่ดังเกินกว่ามาตรฐานกำหนดตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้ว่า ลูกจ้างหรือบุคลากรใดก็ตามที่ทำงานอยู่ภายใต้เสียงดังเกินกว่า 80 เดซิเบลนานเกิน 8 ชั่วโมง จะก่อให้เกิดอันตรายต่อระบบการได้ยินโดยตรง ซึ่งระดับเสียงของแต่ละเดซิเบลที่มีผลต่อการได้ยินจะมี 5 ระดับด้วยกัน ดังนี้
1.เสียงดังระดับ 75 เดซิเบล คือ ระดับเสียงที่เป็นมาตรฐานไม่รบกวนประสาทหูและไม่ก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับระบบการได้ยินในอนาคต
2.เสียงดังระดับ 80 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 8 ชั่วโมง
3.เสียงดังระดับ 90 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 7-8 ชั่วโมง
4.เสียงดังระดับ 91 เดซิเบล ต้องได้รับเสียงติดต่อกันไม่เกินวันละ 7 ชั่วโมง
5.เสียงดังระดับ 140 เดซิเบล ประสาทหูไม่ควรได้รับเสียงดังระดับนี้ทุกกรณี
ลักษณะของเสียงที่เสี่ยงต่อการสูญเสียการได้ยิน
ภาพที่ 3 : ลักษณะของเสียง ที่เสี่ยงต่อการได้ยิน
- เสียงที่มีระดับความดังตั้งแต่85 เดซิเบลขึ้นไป ซึ่งเป็นระดับที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ว่าเป็นอันตรายต่อร่างกายมนุษย์ ซึ่งยิ่งได้รับเสียงดังระดับนี้ยาวนานต่อเนื่องแค่ไหน บ่อยแค่ไหน ก็ยิ่งมีโอกาสทำให้เสี่ยงหูตึงได้มากขึ้นเท่านั้น
- เสียงแหลม หรือเสียงที่มีความถี่สูง จะเป็นลักษณะของเสียงที่ทำให้เรามีโอกาสสูญเสียการได้ยินมากกว่าเสียงทุ้ม หรือเสียงที่มีความถี่ต่ำ ซึ่งก็เช่นกันคือ หากได้รับเสียงแหลมบ่อยๆ นานๆ ดังๆ ก็จะยิ่งทำให้มีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากขึ้น
- เสียงปัง!! แบบฉับพลันในลักษณะเป็นเสียงกระแทก หรือเสียงระเบิด โดยเสียงดังลักษณะแบบนี้จะสามารถทำลายระบบประสาทการได้ยินของคนเราได้มากกว่าการได้ยินเสียงรบกวนแบบต่อเนื่อง คืออาจทำให้เกิดภาวะหูดับ และหนวกตึงได้เลยในทันที
ลักษณะของเสียงทั้ง 3 ดังกล่าว คือลักษณะของเสียงที่มีโอกาสทำให้บุคลากรในโรงงานอุตสาหกรรม หรือคนที่อยู่ใกล้กับแหล่งกำเนิดเสียงเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากที่สุด ซึ่งนอกจากเรื่องของลักษณะเสียงแล้ว ยังมีตัวแปรสำคัญ อีก 2 ข้อ ที่จะทำให้ใครคนใดคนหนึ่งเสี่ยงสูญเสียการได้ยินมากขึ้น ซึ่งได้แก่
1.ระยะเวลาในการได้ยินเสียง โดยบุคลากรที่ได้รับเสียงยาวนานกว่า หรือมีชั่วโมงการทำงานที่ต้องอยู่กับมลภาวะทางเสียงนานกว่า จะมีโอกาสเสี่ยงสูญเสียการได้ยินได้มากกว่า
2.ความไวต่อเสียงที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเอง โดยสำหรับคนที่มีประสาทรับเสียงที่ดีกว่า จะรู้สึกหงุดหงิดและรำคาญได้ง่ายกว่า ซึ่งนั่นหมายความว่า ถ้ามีเสียงดังเกิดขึ้น เขาก็จะตอบสนองต่อเสียงและได้รับผลกระทบที่มากกว่า และมีโอกาสเสี่ยงหูตึงได้มากกว่านั่นเอง
อาการที่เสี่ยงหูตึงจากมลภาวะทางเสียง
ภาพที่ 4 : อาการที่เสี่ยงหูตึงจากมลพิษทางเสียง
1.รู้สึกยากลำบากในการได้ยินกว่าปกติ เช่น ปกติคนคุยกันเข้าใจ แต่กลายเป็นฟังอยากขึ้น เข้าใจยากขึ้น
2.มีอาการเสียงดังในหู หรือมักจะเกิดอาการหูอื้อชั่วคราว โดยเฉพาะภายหลังจากการได้ยินเสียงดัง
3.ในระยะใกล้ๆ ที่ปกติเคยคุยกันได้ยิน ไม่สามารถพูดในระดับเสียงปกติได้ แต่ต้องพูดดังกว่าเดิม หรือถึงขั้นอาจต้องตะโกนคุยกัน
4.มีอาการปวดหูบ่อยๆ หูอื้อ หูวิ้ง วิงเวียนศีรษะ มึนงง ในระหว่างหรือหลังจากการได้รับเสียงดังบ่อยๆ
ป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียงได้ด้วยวิธีไหนบ้าง?
ภาพที่ 5 : ป้องกันมลพิษทางเสียงได้อย่างไร
อันตรายจากมลพิษทางเสียงนั้นมีอยู่มากมายอย่างที่เราได้บอกไป ดังนั้นเป็นเรื่องที่จำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องใส่ใจและไม่มองข้ามอันตรายจากมลพิษทางเสียง โดยการป้องกันอันตรายจากมลพิษทางเสียงนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธีเช่นกัน เริ่มต้นจากการขอความร่วมมือของฝ่ายที่เกี่ยวข้อง สร้างโครงสร้างที่ป้องกันเสียงและใช้วัสดุที่สามารถลดเสียงได้ อีกทั้งการบำรุงรักษาเครื่องจักรให้เกิดเสียงน้อยที่สุดก็เป็นอีกวิธีที่จะทำให้ลดความเสี่ยงในเรื่องของระดับเสียงไปได้ แต่สิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับองค์กรและสำหรับพนักงานทุกคนก็คือ
- จัดหาและดูแลให้พนักงานได้สวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงที่ดีและมีศักยภาพ ไม่ว่าจะเป็นที่อุดหู หรือที่ครอบหูต่างๆ และบังคับสวมใส่อย่างเข้มงวด ให้ความรู้เกี่ยวกับอันตรายของมลพิษทางเสียง เพื่อปลูกจิตสำนึกให้รู้จักรักและระมัดระวังตัวเอง
- ตรวจสอบสมรรถภาพการได้ยินของพนักงานเป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังตรวจสอบระดับความดังของสภาพแวดล้อมในที่ทำงานเป็นประจำ เพื่อที่จะได้ทราบถึงความอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับประสาทการรับเสียง และหาทางแก้ไขพร้อมทั้งป้องกันได้อย่างทันท่วงที ซึ่งแน่นอนว่าอุปกรณ์ต่างๆ ที่ช่วยลดการเกิดเสียงนั้นเป็นทางออกที่ง่ายที่สุด และได้ประสิทธิภาพมากที่สุด
- จัดทำห้องเก็บเสียงในโรงงานหรือกำแพงกั้น รวมถึงการใช้วัสดุป้องกันเสียงร่วมกับวัสดุดูดซับเสียงบริเวณที่เสียงเดินทางผ่าน ก็จะสามารถช่วยกรองและลดระดับความดังของเสียงลงได้ นอกจากนี้ภายในบริเวณพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมหรือพื้นที่ระหว่างห้องเครื่องจักรกับผู้รับเสียง หากสามารถ ปลูกต้นไม้ยืนต้นที่มีใบดกขึ้นปกคลุม ก็จะช่วยลดระดับของเสียงได้ อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มพื้นที่สีเขียวและช่วยลดมลพิษบางส่วนในพื้นที่โรงงานไปด้วยพร้อมกัน
- จัดทำมาตรการอนุรักษ์การได้ยินมีการกำหนดวิธีการเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อให้นายจ้างสามารถทำได้อย่างถูกต้อง เกิดความปลอดภัยกับผู้ปฏิบัติงานอย่างสูงสุด เป็นการป้องกันการสูญเสียสมรรถภาพการได้ยิน โรคจากการทำงาน และ ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถป้องกันตนเองจากอันตรายจากเสียงดังได้อย่างถูกต้อง
การควบคุมดูแลระดับของเสียงภายในโรงงานอุตสาหกรรมถือเป็นหน้าที่และความรับผิดชอบที่ผู้ประกอบการต้องจัดตรียม จัดทำ และให้ความใส่ใจอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้บุคลากร และชุมชนใกล้เคียงไม่ได้รับผลกระทบจากมลภาวะทางเสียงที่เกิดขึ้นจากกิจกรรมต่างๆ ในโรงงาน ทั้งนี้ แนวทางในการควบคุมเสียงของโรงงานอุตสาหกรรมก็สามารถทำได้หลากหลายตามความเหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาตรวจสอบระบบการควบคุมเสียงด้วยวัสดุดูดซับเสียง การสร้างฉากกั้นแหล่งกำเนิดเสียงเพื่อลดระดับความดังของเสียง
ดังนั้นหากพนักงาน หรือหัวหน้างาน มีการพบเจอบริเวณที่มีความเสี่ยง หรือพื้นที่ที่มีเสียงดังเกินกฎหมายกำหนด จะต้องรายงานให้กับเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยได้รับทราบ และดำเนินการแก้ไขพื้นที่ที่มีความเสี่ยงนั้น และเพื่อให้เกิดความสะดวก และง่ายต่อการทำงานระบบตรวจสอบสภาพการณ์ (ESS) จาก JorPor Plus สามารถช่วยให้พนักงานรายงานความเสี่ยงที่เกิดขึ้น และบันทึกจัดเก็บเป็นข้อมูลได้ ทาง JorPor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8