ประเภทของ “ใบอนุญาตทำงาน ” คือ ประเภทของงานที่มีความเสี่ยงที่ก่อให้เกิดอันตราย ซึ่งก่อนที่จะทำงานแต่ละประเภทได้นั้นต้องได้รับการอนุญาตทำงาน (Work Permit) จากเจ้าของงาน เจ้าของพื้นที่ และจป ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติงาน และจป ต้องอบรมความปลอดภัยในการทำงานให้กับผู้ปฏิบัติงานได้เข้าใจและปฏิบัติตาม เพื่อป้องกันอันตราย และรักษาความปลอดภัยในสถานที่ทำงาน

งานที่ก่อให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟ
(Hot Work)

ภาพที่ 1 : งานที่ก่อให้เกิดประกายไฟ หรืองานความร้อน

งานที่ก่อให้เกิดความร้อน Hot work เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับเปลวไฟ ประกายไฟ หรืออุณหภูมิสูง ซึ่งรวมถึงการเชื่อม การตัด การบัดกรี และกิจกรรมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความร้อนหรือเปลวไฟ Hot work มักใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท รวมถึงการผลิต การก่อสร้าง และการซ่อมแซม

 อันตรายจากการทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน (Hot work)

  1. ไฟและการระเบิด : Hot work สามารถทำให้เกิดประกายไฟและเปลวไฟ ซึ่งสามารถจุดวัสดุไวไฟและทำให้เกิดไฟไหม้หรือการระเบิดได้
  2. แผลไหม้ : Hot work อาจทำให้ผิวหนังหรือดวงตาไหม้ได้หากไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (PPE) ที่เหมาะสม
  3. ควันพิษ : กระบวนการทำงานบางอย่าง เช่น การเชื่อม สามารถสร้างควันพิษที่อาจทำให้เกิดปัญหาระบบทางเดินหายใจหากหายใจเข้าไป ดังนั้นการสวม PPE เช่น หน้ากากกันแก๊ส หน้ากากอนามัย จึงสำคัญอย่างมาก
  4. เสียงรบกวน : Hot work ยังสามารถสร้างเสียงดัง ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสียหายต่อการได้ยินหากไม่ได้ใช้อุปกรณ์ป้องกันการได้ยินที่เหมาะสม

Hot work เป็นงานที่มีความเสี่ยงสูงต่อความเป็นอันตราย ซึ่งอาจเกิดจากการเกิดไฟไหม้ หรือการเกิดความร้อนที่สูงส่งผลให้มีสภาพแวดล้อมที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ ดังนั้น การจัดระบบทำงานที่ปลอดภัยและเหมาะสมสำหรับงานที่เกี่ยวข้องกับความร้อนเป็นสิ่งจำเป็น การให้ความสำคัญกับการเตรียมใบอนุญาตในการทำงานเป็นสิ่งสำคัญเพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานนี้

งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

ภาพที่ 2 : งานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

การทำงานที่มีกระแสไฟฟ้า  เช่น การซ่อมแซม การติดตั้ง หรือการปรับปรุงอุปกรณ์ไฟฟ้า รวมถึงสภาวะที่เกี่ยวข้องกับการที่อุปกรณ์ไฟฟ้าสัมผัสกับความชื้น ความร้อน การสั่นสะเทือน ความเสียหายทางกล สารเคมีที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และฝุ่นละออง เช่น พื้นที่เปียกหรือมีฝุ่นละออง กลางแจ้ง สถานที่ทำงานที่ใช้สารกัดกร่อน ห้องครัวเชิงพาณิชย์ และสภาพแวดล้อมการผลิต เป็นต้น ซึ่งสภาพแวดล้อมที่ไม่เป็นมิตรสามารถทำให้เกิดอันตรายได้เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าชำรุด

อันตรายจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับไฟฟ้า

  1. การสัมผัสกับชิ้นส่วนที่ทำให้เกิดไฟฟ้าช็อตและไหม้ได้
  2. ความผิดพลาดที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัย
  3. ไฟไหม้หรือการระเบิดที่ไฟฟ้าอาจเป็นแหล่งกำเนิดประกายไฟในบรรยากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ เช่น ในตู้พ่นสี
  4. ความเสี่ยงของการบาดเจ็บจากไฟฟ้านั้นเชื่อมโยงอย่างมากกับสถานที่และวิธีการใช้ไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น กลางแจ้งหรือในสภาพแวดล้อมที่เปียก – อุปกรณ์อาจเปียกและอาจเสี่ยงต่อความเสียหายมากขึ้น
  1. ในพื้นที่แคบที่มีงานโลหะลงดิน เช่น ภายในถัง อาจเป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงไฟฟ้าช็อตหากเกิดไฟฟ้าขัดข้อง
  2. อุปกรณ์บางรายการอาจมีความเสี่ยงมากกว่ารายการอื่นๆ อุปกรณ์ไฟฟ้าแบบพกพามีแนวโน้มที่จะเกิดความเสียหายเป็นพิเศษ ซึ่งรวมถึงปลั๊กและเต้ารับ การเชื่อมต่อทางไฟฟ้าและสายเคเบิลสายต่อพ่วง โดยเฉพาะสายที่ต่อกับอุปกรณ์ที่มีการเคลื่อนย้ายบ่อย อาจประสบปัญหาในลักษณะเดียวกันได้

มีความเสี่ยงสูงต่อการช็อตไฟฟ้า หรือการเกิดไฟไหม้ การทำงานในสภาพแวดล้อมที่มีกระแสไฟฟ้ามีความเสี่ยงต่อความปลอดภัยสูงมาก ผู้ที่ทำงานหรือมีส่วนเกี่ยวข้องกับงานนี้ควรมีความรู้ และความเข้าใจในการจัดการและปฏิบัติงานที่เกี่ยวกับไฟฟ้าอย่างปลอดภัย การใส่อุปกรณ์ป้องกันต่างๆ เช่น หมวกกันไฟฟ้า รองเท้าเซฟตี้ และการปฏิบัติงานอย่างระมัดระวังเป็นสิ่งสำคัญ

งานที่สูง

ภาพที่ 3 : การทำงานบนที่สูง

การทำงานบนที่สูงที่มีความเสี่ยงจากการพลัดตก หรือวัตถุร่วง การปฏิบัติงานใด ๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น-ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูงที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคง หรือลื่น

อันตรายจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับที่สูง

  1. ตกจากที่สูง
  2. ของตกกระแทกคนงานด้านล่าง
  3. พื้นผิวการทำงานที่ไม่มั่นคงซึ่งนำไปสู่การลื่นและสะดุด
  4. ความล้มเหลวของอุปกรณ์ป้องกันการตกหรือการใช้งานที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดการตกจากที่สุด
  5. สภาพอากาศ เช่น ลมแรง ฝน หรือน้ำแข็ง เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ

มีความเสี่ยงอย่างมากจากการพลัดตก หรือวัตถุที่ร่วงจากที่สูง การทำงานบนที่สูงควรมีการปฏิบัติอย่างระมัดระวัง และใช้อุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นในขณะทำงาน

งานเกี่ยวข้องกับสารเคมี

ภาพที่ 4 : งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

การใช้งานที่มีสารเคมี หรือสัมผัสกับสารเคมีทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น การทาสี การใช้สารเคมีในห้องแลปหรือไลน์ผลิต หรือการขนส่งสารเคมี
อันตรายจากการทำงานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี

  1. ชนิดกัดกร่อน (Corrosive) : ทำให้เนื้อเยื่อของร่างกายไหม้พอง ได้แก่ สารละลายพวกกรดและด่างเข้มข้น น้ำยาฟอกขาว
  1. ชนิดทำให้ระคายเคือง (Irritants) : ทำให้เกิดอาการปวดแสบ และอักเสบในระยะต่อมา เช่น ฟอสฟอรัส สารหนู อาหารเป็นพิษ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
  2. ชนิดที่มีผลกระทบต่อระบบประสาท : ส่งผลต่อการกระตุ้นการทำงานของระบบประสาท ทำให้หมดสติ หรือเกิดอาการเพ้อคลั่ง ชีพจรเต้นเร็ว เช่นใบยาสูบ ทินเนอร์

ต้องมีการระวังและใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น แว่นตาป้องกันตา ถุงมือ และผ้าปิดจมูก เพื่อป้องกันการสัมผัสกับสารเคมีที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย

งานอับอากาศ

ภาพที่ 5 : งานที่เกี่ยวข้องกับงานที่อับอากาศ

การทำงานในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทไม่สะดวก ที่มีไอ หรือสารพิษ เช่น ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน อุโมงค์ ห้องนิรภัย ถังหมัก ไซโล ฯลฯ ที่มีลักษณะคล้ายกัน
อันตรายจากการทำงานที่อับอากาศ

  1. ภาวะขาดออกซิเจน : สถานที่อับอากาศส่วนใหญ่มีปริมาณออกซิเจนน้อย ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องมีสุขภาพที่แข็งแรง มีความพร้อม
  2. ดมแก๊สพิษ : สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็นท่อส่งแก๊สหรือถังเก็บก๊าซ รวมถึงบางแห่งเกิดก๊าซจากการสะสมสิ่งปฏิกูล ทำให้เกิดก๊าซพิษได้ ดังนั้นต้องสวมหน้ากากทุกครั้ง
  3. ผิวหนังอักเสบหรือไหม้จากสารพิษ : เนื่องจากผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศมีโอกาสสัมผัสสารพิษ หรือ แมลงหรือสัตว์พิษบางชนิด ดังนั้นการสวมชุดอับอากาศที่ปลอดภัยได้มาตรฐานเป็นสิ่งที่จำเป็น
  4. อุบัติเหตุไฟไหม้ เช่น แก๊สระเบิด : สถานที่ปฏิบัติงานบางแห่งเป็น ท่อส่งแก๊ส หรือถังเก็บก๊าซ ดังนั้นผู้ปฏิบัติงานในสถานที่อับอากาศต้องระมัดระวังไม่ให้เกิดประกายไฟ

ดังนั้นต้องมีการใช้อุปกรณ์ป้องกันทางเดินหายใจ เพื่อป้องกันการสูญเสียออกซิเจน หรือการสัมผัสกับสารพิษ ที่อาจเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมสำหรับการทำงาน

งานยกเคลื่อนย้ายด้วยเคร

ภาพที่ 6 : งานที่เกี่ยวข้องกับการยกเคลื่อนย้ายด้วยเครน

การยกและเคลื่อนย้ายวัตถุหนักด้วยเครน ซึ่งมีมากมายหลายประเภท และขนาดที่แตกต่างกัน เช่น เครนเหนือศีรษะและเครนขาสูง เครนหอสูง รถเครน เรือเครน เป็นต้น

อันตรายจากการทำงานยกเคลื่อนย้ายด้วยเครน

  1. ผู้ใช้งานหรือผู้เกี่ยวข้องไม่ได้รับการอบรม ไม่มีประสบการณ์หรือความรู้ในการใช้งานเครน
  2. เครนล้มคว่ำ ไม่ได้ตรวจเช็คความปลอดภัยจากวิศวกร และจป
  3. สายสลิงขาด เนื่องจากไม่ได้ตรวจเช็ควัสดุอุปกรณ์ที่ใช้งานประจำวัน
  4. เครนยกวัตถุไปเกี่ยวสายไฟฟ้า

เครื่องมือกลทุกชนิดจำเป็นต้องมีการดูแลรักษาอย่างสม่ำเสมอและการอบรมให้แก่พนักงานเพื่อให้พวกเขามีความเข้าใจและความคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานเครื่องมือเหล่านี้อย่างแท้จริง

ในการทำงานที่มีความเสี่ยงทุกประเภทสิ่งสำคัญเลย คือ การปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อให้แน่ใจได้ว่าการทำงานจะปลอดภัย และไม่ต้องกลัวว่าจะเกิดอันตรายทั้งต่อผู้ปฏิบัติงานและคนรอบข้าง โดยมาตรการความปลอดภัยนั้น จะต้องมีการเตรียมเอกสารเพื่อขอ ใบอนุญาตทำงาน (Work permit) ประชุมและแจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องทราบ รวมถึงการใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เพื่อป้องกันอุบัติเหตุและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน

ฉนั้นเพื่อให้การทำงานนั้นง่าย และสะดวกรวดเร็ว Jorpor Plus มีตัวช่วยในการทำงานที่ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น อย่างระบบการจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก Jorpor Plus ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถอบรมความปลอดภัยก่อนเข้าทำงาน Online และยังสามารถประเมินความเสี่ยงในการทำงานทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงานได้อีกด้วย ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ทดลองใช้งานฟรี

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: 
https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8