“ที่อับอากาศ” หมายถึง สถานที่ที่มีทางเข้าออกจำกัด ไม่ได้ถูกออกแบบไว้ให้เป็นสถานที่ทำงานแบบต่อเนื่อง มีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศที่อันตราย เช่น ถ้ำ อุโมงค์ หลุม ห้องใต้ดิน ฯลฯ ส่วนคำว่าสภาพอันตรายนั้น หมายถึง สภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างมีอันตรายการจากทำงาน การทำงานในสถานที่อับอากาศ ถือได้ว่าเป็นสภาวะอันตรายหรือสภาพอันตรายอย่างหนึ่ง ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศได้

บ่อยครั้งเรามักจะได้ยินข่าวการเสียชีวิตจากการทำงานในที่ที่อับอากาศเนื่องจากนายจ้าง และผู้ปฏิบัติงานยังขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานในที่อับอากาศอย่างปลอดภัย กฎหมายไทยจึงได้มีการประกาศกำหนดให้สถานประกอบกิจการไหนมีสถานที่อับอากาศที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปนายจ้างจะต้องจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยและการฝึกอบรมที่อับอากาศ 4 ผู้ ได้แก่ ผู้อนุญาต ผู้ควบคุม ผู้ช่วยเหลือ ผู้ปฏิบัติงานในงานอับอากาศ รวมไปถึงจัดให้มีการอบรมทบทวนการทำงานในสถานที่อับอากาศตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายก่อนลูกจ้างเริ่มทำงาน หรือมีการเปลี่ยนงาน หรือเปลี่ยนสถานที่ทำงานในที่อับอากาศ

ภาพที่ 1 : 4 ผู้ที่ต้องฝึกอบรมที่อับอากาศตามกฏหมาย

คุณสมบัติผู้เข้าอบรมที่อับอากาศมีอะไรบ้าง

  • มีอายุไม่ต่ำากว่า 18 ปีบริบูรณ์
  • มีใบรับรองแพทย์ว่าเป็นผู้มีสุขภาพสมบูรณ์ ร่างกายแข็งแรง ไม่เป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ โรคหัวใจ ฯลฯ
  • ผู้เข้ารับการอบรมจะต้องผ่านการฝึกอบรมดับเพลิงขั้นต้นมาแล้ว

ผู้อนุญาต
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้


ภาพที่ 2 : บทบาทหน้าที่ของผู้อนุญาต

1. ได้รับมอบหมายจากนายจ้างในการออกหนังสือขออนุญาตการทำงานในที่อับอากาศ ตามที่กฎหมายกำหนด
2. มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติ ให้มีการทำงานในที่อับอากาศ
3. เป็นผู้พิจารณาร่วมกับผู้ขออนุญาตทำงานในที่อับอากาศในการวางแผนการปฏิบัติงานและมาตรการป้องกันอันตราย
4. ต้องทราบลักษณะงานที่เป็นอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศ รวมทั้งผลของการได้รับอันตรายในการทำงานในที่อับอากาศที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
5. เป็นผู้เตรียมการในการตัดแยกระบบทุกระบบ ที่เกี่ยวข้องกับการทำงานในที่อับอากาศ
6. จัดเตรียมให้มีการระบายอากาศ จนมั่นใจได้ว่าอยู่ในระดับที่สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัย
7. ต้องตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
8. รับผิดชอบในการสื่อสารไปยังแผนกที่เกี่ยวข้องภายในพื้นที่โรงงานเพื่อให้รับทราบถึงการปฏิบัติงาน
9. ก่อนเริ่มปฏิบัติงานจะต้องตรวจสอบให้มั่นใจว่าได้มีการเตรียมการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตทำงาน
10. ตรวจสอบให้มั่นใจว่าในระหว่างการทำงานในที่อับอากาศทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องปฏิบัติตามมาตรการความปลอดภัยที่กำหนดไว้ร่วมกัน
11. เมื่องานเสร็จสมบูรณ์จะต้องตรวจสอบความเรียบร้อยของพื้นที่ปฏิบัติงาน
12. เป็นผู้เซ็นต์อนุมัติในการสิ้นสุดการทำงานตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตการทำงาน

ผู้ควบคุมงาน
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้


ภาพที่ 3 : บทบาทหน้าที่ของผู้ควบคุมงาน

1. เป็นผู้ขออนุญาตให้มีการทำงานในที่อับอากาศ
2. จัดทำแผนการปฏิบัติงานและการป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการทำงานและแผนช่วยเหลือผู้ปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน และปิดประกาศหรือแจ้งให้ลูกจ้างทราบเป็นลายลักษณ์อักษร
3. ทราบลักษณะอันตรายรวมทั้งผลของอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นกับผู้ปฏิบัติงาน
4. เป็นผู้ตรวจสอบบรรยากาศให้เหมาะสมก่อนที่จะอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศ
5. ชี้แจงซักซ้อมหน้าที่รับผิดชอบ วิธีปฏิบัติงาน และวิธีการป้องกันอันตรายให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้
6. ตรวจสอบขั้นตอนการทำงานให้มีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่องตลอดการทำงาน
7. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่นำมาใช้ต้องมีความเหมาะสมและทำงานได้อย่างถูกต้อง
8. ควบคุมดูแลให้ลูกจ้างใช้เครื่องป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลและให้ตรวจตราอุปกรณ์ดังกล่าวให้อยู่ในสภาพที่จะใช้งาน
9. ต้องมั่นใจว่าพื้นที่ทำงานต้องมีเฉพาะผู้ที่เกี่ยวข้องที่ได้รับอนุญาตอยู่ในพื้นที่ทำงานเท่านั้น
10. ตรวจสอบให้มั่นใจว่ามีแผนฉุกเฉินและทีมช่วยเหลือพร้อม ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา
11. สั่งให้หยุดการทำงานไว้ชั่วคราว ในกรณีที่มีเหตุที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานจนกว่าเหตุนั้นจะหมดไป และหากจำเป็นอาจขอให้ผู้อนุญาตยกเลิกการอนุญาต
12. เป็นผู้ขออนุญาตสิ้นสุดการทำงาน และตรวจสอบการทำงานเมื่องานนั้นเสร็จสมบูรณ์แล้ว

ผู้ช่วยเหลือหรือผู้เฝ้าระวัง
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้


ภาพที่ 4 : บทบาทหน้าที่ของผู้ช่วยเหลือ

1. ต้องรู้อันตรายที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการเข้าไปทำงานในที่อับอากาศ
2. กำหนดรูปแบบการสื่อสารกับผู้ทำงานในที่อับอากาศให้เข้าใจง่ายที่สุด
3. ซักซ้อมความเข้าใจร่วมกันกับผู้ปฏิบัติงานถึงวิธีการสื่อสาร การให้สัญญาณ ทั้งในกรณีเหตุการณ์ปกติ และฉุกเฉิน
4. เป็นผู้มีความชำนาญในการตรวจวัดสภาพอากาศทั้งก่อน ขณะปฏิบัติงานให้อยู่ในระดับที่ปลอดภัย
5. เฝ้าระวังสังเกตพฤติกรรมที่เปลี่ยนของผู้ปฏิบัติงาน
6. ควบคุมให้ผู้ที่ผ่านเข้าไปทำงานเป็นผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
7. ดำเนินตามขั้นตอนการปฏิบัติงานในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
8. ต้องทราบหลักการและวิธีการในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในกรณีฉุกเฉิน
9. ต้องมั่นใจว่าอุปกรณ์ที่ใช้ช่วยเหลือมีความพร้อม และเพียงพอรวมทั้งมีความปลอดภัยในการใช้งาน
10. มีทักษะความชำนาญในการใช้อุปกรณ์ช่วยชีวิตเป็นอย่างดี
11. คอยเฝ้าดูแลทางเข้าออกที่อับอากาศโดยให้สามารถติดต่อสื่อสารกับผู้ปฏิบัติงานได้ตลอดเวลา

ผู้ปฏิบัติงานในที่อับอากาศ
มีหน้าที่ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 5 : บทบาทหน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน

1. ต้องทราบถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างเข้าไปทำงาน รวมทั้งการเข้าสู่ร่างกายของสารพิษอาการแสดงและผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่อมีการสัมผัสอันตรายระหว่างการทำงานในที่อับอากาศ
2. ต้องทราบถึงขีดความสามารถของร่างกายตนเองว่าสามารถทำงานในที่อับอากาศได้หรือไม่
3. ต้องทำความเข้าใจและซักซ้อมรายละเอียดดังต่อไปนี้อย่างน้อย

  • ขั้นตอนการปฏิบัติงานที่ปลอดภัยตามที่กำหนดไว้
  • วิธีการใช้เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องนำเข้าไปปฏิบัติงาน
  • วิธีการใช้อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล เช่น หมวกนิรภัย ถุงมือ เป็นต้น
  • วิธีการสื่อสาร เช่น การใช้สัญญาณการขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน

4. ปฏิบัติตามขั้นตอนการทำงานที่ระบุในใบอนุญาตเข้าทำงานในที่อับอากาศอย่างเคร่งครัด
5. ต้องสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่กำหนดไว้ตลอดการปฏิบัติงาน
6. ต้องเพิ่มความระมัดระวังเมื่อมีสถานการณ์ที่เป็นผิดปกติเกิดขึ้น
7. ต้องเรียนรู้วิธีการช่วยเหลือตัวเองเบื้องต้นเมื่อพบว่าเริ่มมีอาการผิดปกติเกิดขึ้นกับร่างกาย
8. ฝึกทักษะความชำนาญในการให้สัญญาณกลับไปยังผู้เฝ้าระวัง เพื่อขอความช่วยเหลือเมื่อพบว่าร่างกายมีอาการผิดปกติหรือเมื่อเกิดสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตราย
9. ทราบวิธีการอพยพออกจากที่อับอากาศอย่างปลอดภัยและอพยพได้ทันทีเมื่อผู้ควบคุมงานหรือผู้ช่วยเหลือให้สัญญาณ
10. แจ้งผลการปฏิบัติงานทุกครั้งเมื่อการปฏิบัติงานนั้นเสร็จสมบูรณ์

ความเสี่ยงในการทำงานในที่อับอากาศ

  • การขาดอากาศหายใจเนื่องจากพื้นที่การทำงานมักมีอากาศน้อย มีปริมาณออกซิเจน (Oxygen) ต่ำกว่า 19.5% หรือมากกว่า 23.5% อาจจะทำให้คนทำงานหมดสติจากการขาดอากาศหายใจ
  • บริเวณที่ทำงานมีก๊าซพิษชนิดต่างๆ เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือก๊าซไข่เน่า H2S
  • มีอันตรายจากสารเคมีไวไฟ (flammable) หรือ สารระเบิด (Explosives) และอันตรายอื่นๆ เช่น ไฟฟ้าช๊อต ตกจากที่สูง ลื่น เสียงดัง ฯลฯ

มาตรการป้องกันอันตราย

  • จัดทำป้าย “ที่อับอากาศ อันตราย ห้ามเข้า” ติดหน้าทางเข้า-ออก และต้องขออนุญาตก่อนเข้าทำงานทุกครั้ง
  • ตรวจสอบก๊าซพิษ ก๊าซติดไฟและปริมาณก๊าซออกซิเจนต้องอยู่ระหว่าง 19.5 – 23.5
  • ต้องมีผู้ควบคุม และมีผู้ช่วยเหลืออยู่ประจำบริเวณทางเข้า-ทางออก ตลอดเวลาที่มีการทำงาน
  • จัดให้มีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE) อุปกรณ์ช่วยเหลือและช่วยชีวิตที่เหมาะสม

ดังนั้นทั้งผู้อนุญาต ผู้ควบคุมงาน ผู้ช่วยเหลือ และผู้ปฎิบัติงาน จะต้องได้รับการฝึกอบรมและมีความรู้ในการทำงานในที่อับอากาศเป็นอย่างมาก เนื่องจากพื้นที่อับอากาศเป็นพื้นที่ที่เสี่ยงเกิดอันตรายจากการขาดอากาศหายใจ และระหว่างที่มีการอนุญาตให้ทำงาน นายจ้างจะต้องมีการตรวจสอบสภาพอากาศเป็นระยะๆ เพื่อไม่ให้เกินจากที่มาตรฐานกำหนด

ทั้งนี้การทำงานที่อับอากาศอาจมีความเสี่ยง แต่หากเรามีความรู้และเทคนิคที่เหมาะสม การทำงานก็จะเป็นไปอย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย เริ่มต้นที่การเตรียมอุปกรณ์ที่สำคัญในการทำงานในที่อับอากาศ รวมถึงการประเมินสภาพอากาศและบันทึกการตรวจวัดสารก่อนปฏิบัติงาน โดยระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus ทั้งครอบคลุมและตอบโจทย์องค์กรต่างๆ สามารถเปิดใบ Work Permit ออนไลน์ได้ในทุกประเภทความเสี่ยงของงาน รวมถึงมีการประเมินทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฎิบัติงาน และวัดค่าสภาพอากาศได้เป็นระยะๆ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยตลอดการทำงาน และจัดเก็บเป็นข้อมูลได้ในระบบ Jorpor Plus พร้อมให้คำปรึกษาฟรี มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว  กดคลิก ได้เลย

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน
chunya@factorium.tech
061-546961

คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8