เครนคืออะไร

ภาพที่ 1 : เครนคืออะไร

เครน (Crane) หรือเรียกว่า “ปั้นจั่น” เป็นเครื่องจักรกลชนิดหนึ่ง ที่ใช้ในการยกวัตถุให้เคลื่อนที่หรือเคลื่อนย้ายวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง โดยสามารถยกวัตถุให้ลอยขึ้นในแนวดิ่งหรือสามารถเคลื่อนย้ายวัตถุในแนวราบก็ได้ ภายในระยะทำการของเครนเครื่องนั้น

เครนมีกี่ประเภท

ภาพที่ 2 : เครนมีกี่ประเภท

โดยทั่วไปเราอาจแบ่งประเภทของเครน (Crane) หรือ ปั้นจั่นตามลักษณะกายภาพได้เป็น 2 ประเภท คือ

1. เครนชนิดอยู่กับที่ (Stationary Crane)

เครนประเภทนี้ จะตั้งอยู่บนขา, แท่น หรือ Station จึงทำให้เครนประเภทนี้ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้นั่นเอง หรืออาจเพียงแค่เคลื่อนที่ไปตามแนวรางของเครนตัวนั้น เครนประเภทนี้มักมีขนาดตัวที่ใหญ่ แข็งแรง ตัวอย่างเช่น เครนราง (Overhead Crane) เครนขาสูง (Gantry Crane) ซึ่งนิยมใช้ในการยกเคลื่อนย้ายวัตถุขนาดใหญ่ มีน้ำหนักมาก หรือเครนประเภทที่สามารถติดตั้งและทำงานกับอาคารสูงได้ เช่น เครนหอสูง (Tower Crane) เป็นต้น

2. เครนชนิดเคลื่อนที่ได้ (Mobile Crane)

เครนประเภทนี้ อาจพูดได้ว่าเป็นเครื่องจักรกลผสมกับยานยนต์ เนื่องจากเครนจะถูกติดตั้งไว้บนยานยนต์ที่มีล้อ จึงทำให้เครนประเภทนี้สามาถเคลื่อนได้ด้วยตัวเองอย่างอิสระ เครนชนิดนี้จึงมีข้อดี คือสามารถเคลื่อนที่เข้า-ออกสู่พื้นที่ทำงานได้ง่าย มีหลายชนิด และมีขนาดความสามารถให้เลือกใช้อย่างหลากหลาย ตามความเหมาะสมของงานของเรา เครนชนิดนี้ได้รับความนิยมมากในการก่อสร้างนั่นเอง

ขั้นตอนที่ 1

ใช้เครนให้เหมาะสมกับประเภทของงาน

ภาพที่ 3 : ใช้เครนให้เหมาะสมกับประเภทของงาน

ต้องมั่นใจว่ามีการใช้งานเครนอย่างปลอดภัย โดยเริ่มจากการเลือกใช้เครนอย่างถูกต้อง เครนมีทั้งแบบเคลื่อนที่และอยู่กับที่ โดยทั่วไปเครนแบบอยู่กับที่จะใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม และเครนชนิดเคลื่อนที่มีหลายประเภทการเลือกใช้งานจึงต้องเลือกให้ถูกต้องตามประเภทของการใช้งานและสถานที่ใช้งานด้วยเพราะความปลอดภัยเริ่มจากการเลือกใช้เครนที่ถูกประเภทเหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน

ขั้นตอนที่ 2 

ผู้ที่ทำงานกับเครนต้องผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนด

ภาพที่ 4 : ผู้ที่ทำงานกับเครนต้องผ่านการฝึกอบรมตามกฏหมาย

การทำงานที่ปลอดภัยกับเครน ผู้ที่ทำงานต้องผ่านการฝึก อบรมเครน ตามที่กฎหมายกำหนด เพราะหากผู้ปฏิบัติงานไม่มีความรู้ ความสามารถอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในขณะปฏิบัติงานได้ ต้องตรวจเครนให้มั่นใจว่าผู้ปฏิบัติงานผ่านการฝึกอบรมแล้ว

ขั้นตอนที่ 3

ศึกษาคู่มือ การใช้เครน

ภาพที่ 5 : ศึกษาคู่มือการใช้เครนอยู่เสมอ

ถึงแม้ว่าผู้ปฏิบัติงานจะผ่านการฝึกอบรมตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว แต่สิ่งสำคัญที่ต้องระลึกถึงเสมอคือเครน แต่ละตัวมีอุปกรณ์และลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตกำหนด ผู้ที่ปฏิบัติงานกับเครนแต่ละตัวจึงต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับเครนที่ตนเองทำงานอย่างละเอียด ประกอบด้วย

– พิกัดการยก

– กลไกความปลอดภัย

– การคงตัวและน้ำหนักการยก

– การควบคุมการปฏิบัติงาน

ก่อนการปฏิบัติงานกับเครนทุกครั้ง ต้องศึกษาคู่มือการใช้งานอย่างละเอียด เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 4

จัดการสิ่งกีดขวางในระหว่างการขับเคลื่อน

ภาพที่ 6 : จัดการสิ่งกีดขวางในระหว่างการขับเคลื่อน

การขับเคลื่อนเครนหรือปั้นจั่น ต้องมั่นใจว่าไม่มีสิ่งกีดขวางบริเวณเส้นทางเดินของปั้นจั่น ควรหลีกเลี่ยงอันตรายที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ เช่น สายไฟ หรือสิ่งอื่นๆ ที่มีการติดตั้งแบบถาวร ผู้ปฏิบัติงานควรรักษาระยะห่างที่ปลอดภัยตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน ผู้ให้สัญญาณควรเป็นผู้นำเครนระหว่างการขับเคลื่อนเสมอตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ให้สัญญาณเตือนกับผู้ควบคุมเครนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น

ขั้นตอนที่ 5

หากพบสิ่งผิดปกติต้องหยุดใช้งานเครนทันที

ภาพที่ 7 : หากพบสิ่งผิดปกติ ให้หยุดใช้งานเครนทันที

ในระหว่างที่กำลังใช้งานเครนถ้าหากเกิดเหตุขัดข้อง สิ่งผิดปกติ หรือ ได้ยินเสียงที่ผิดปกติที่มาจากเครนที่ใช้งานอยู่ ควรหยุดใช้งานเครนทันที และจึงตรวจสอบว่าเหตุขัดข้องที่เกิดมีสาเหตุมาจากอะไร เพื่อช่างจะได้สามารถแก้ไขและซ่อมบำรุงได้อย่างตรงจุด

ขั้นตอนที่ 6

การตรวจสอบเครนประจำวัน

ภาพที่ 8 : ตรวจสอบเครนก่อนใช้งานประจำทุกวัน

ผู้ปฏิบัติงานต้องทำการตรวจสอบเครนก่อนการใช้งานเป็นประจำทุกวัน เพื่อให้มั่นใจว่าเครนและอุปกรณ์ของเครนมีความพร้อมสำหรับการปฏิบัติงานตามเอกสารการตรวจสอบประจำวัน และหากพบว่าเครนไม่พร้อมใช้งาน ต้องหยุดใช้งานจนกว่าจะได้รับการแก้ไข ให้อยู่ในสภาพที่ปลอดภัยต่อการใช้งาน

ขั้นตอนที่ 7

ติดตั้งเครนให้มั่นคงก่อน การใช้งานเครน

ภาพที่ 9 : ติดตั้งเครนให้มั่นคงก่อนการใช้งาน

ปั้นจั่นหรือเครนแบบเคลื่อนที่ที่ใช้แขนค้ำยัน ต้องตั้งให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันไม่ให้ปั้นจั่นพลิกคว่ำระหว่างการทำงาน ต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้เสมอ

-ปฏิบัติตามข้อกำหนดตามที่ผู้ผลิตกำหนดไว้

-ใช้แผ่นรองแขนปั้นจั่นเสมอ

-ห้ามวางทริกเกอร์เหนือช่องว่างบนพื้นที่ไม่มั่นคงแข็งแรง

อุบัติเหตุเครนพลิกคว่ำหลายครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากการตั้งเครนบนพื้นที่ที่ไม่มั่นคงแข็งแรงและการกางแขนของเครนที่ไม่เหมาะสม จึงต้องมั่นใจว่าได้กางแขนของเครนอย่างถูกต้องและตั้งบนพื้นที่ที่มั่นคงแข็งแรง

ขั้นตอนที่ 8

ให้ความสำคัญกับขีดจำกัดการโหลด

ภาพที่ 10 : ให้ความสำคัญกับขีดจำกัดการโหลด

ผู้ปฏิบัติงานต้องให้ความสำคัญกับขีดจำกัดของการโหลด ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อมีการโหลดสิ่งของเพราะหากผู้ปฏิบัติงานไม่ให้ความสำคัญกับขีดจำกัดการโหลด อาจก่อให้เกิดการพลิกคว่ำของเครนได้ หากยกเกินขีดจำกัด

ขั้นตอนที่ 9

  ใช้การสื่อสารและสัญญาณมือที่เหมาะสม

ภาพที่ 11 : ใช้การสื่อสารและสัญญาณมือที่เหมาะสม

การใช้สัญญาณมือในการสื่อสารตามมาตรฐาน เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานอย่างปลอดภัยของปั้นจั่น ผู้ให้สัญญาณต้องมีความสามารถในการให้สัญญาณไปยังผู้ควบคุมปั้นจั่นได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความผิดพลาดและก่อให้เกิดอันตรายในขณะที่ปฏิบัติงาน

ขั้นตอนที่ 10

การป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครน

ภาพที่ 12 : แนวทางป้องกันการเกิดอุบัติเหตุจากเครน

1.ผู้ควบคุมปั้นจั่นจะต้องได้รับการรับรองจากองค์กรว่ามีสามารถในการควบคุมปั้นจั่นและได้รับการรับรองว่าผ่านการอบรมที่ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด

2.บุคคลที่ผ่านการฝึกอบรมเครนแล้วเท่านั้น ที่สามารถใช้งานเครนได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน การเปลี่ยนชิ้นส่วนอุปกรณ์

3.มีการตรวจสอบสภาพของเครนและอุปกรณ์ที่จะต้องใช้งานทุกชิ้นก่อนเริ่มงานทุกครั้ง และทำแผนทุกครั้งก่อนที่จะทำการยกสิ่งของ

4.ต้องมีการบำรุงรักษาเครน ตรวจสอบเครน และทดสอบเครน เป็นไปตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้ ห้ามใช้เครนยกสิ่งของข้ามศีรษะของเจ้าหน้าที่คนอื่นอย่างเด็ดขาด

5.เครนจะต้องได้รับการตรวจสอบและทดสอบตามระยะเวลาที่กำหนด

การทำงานกับเครน หรือ ปั้นจั่นอย่างปลอดภัย นอกจากผู้ปฏิบัติงานต้องผ่านการฝึกอบรมเครนตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมีข้อกำหนดอื่นๆ ที่มีความสำคัญไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเมื่อต้องมีการยกสิ่งของที่มีน้ำหนักมาก ผู้ปฏิบัติงานต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ โดยต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้น

ดังนั้นทั้งก่อนเริ่มงาน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงานจป หรือวิศวกรต้องตรวจสอบอุปกรณ์ทุกครั้ง เพื่อตรวจเช็คให้มั่นใจว่าการทำงานนั้นปลอดภัยแน่นอน โดยทาง Jorpor Plus มีตัวช่วยดีๆ อย่างระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ที่จะให้จป และผู้รับเหมาสะดวกในการเปิดใบ work permit ในการทำงานแบบออนไลน์ได้ เพื่อเก็บเป็นข้อมูลประกอบการทำงาน และตรวจเช็คอุปกรณ์ควบคู่กับใบ work permit ได้ตลอดตั้งแต่เริ่มงาน จนจบงาน อีกทั้งยังประเมินความเสี่ยงจากการทำงานได้อีกด้วย Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี และสามารถทดลองใช้งานได้ฟรี กดคลิก ได้เลย

ทดลองใช้งานฟรี

ให้คำปรึกษาฟรี!!!

คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961

Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: 
https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8