“งานที่สูง” ตามกฎกระทรวงได้กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ในสถานที่ที่มีอันตรายจากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็น ตกหล่น และพังทลาย และจากการตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ พ.ศ. 2564 เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ภาพที่ 1 : คำนิยามศัพท์เฉพาะ
นายจ้างต้องจัดให้มีข้อบังคับ
และขั้นตอนการปฏิบัติงานเพื่อความปลอดภัย
ภาพที่ 2 : ข้อบังคับและขั้นตอนการปฏิบัติงาน ทำงานบนที่สูง
ข้อ 2 นายจ้างต้องจัดทำข้อบังคับและขั้นตอนความปลอดภัยในการทำงานที่สูง เพื่อลดความเสี่ยงจากอันตรายต่างๆ เช่น การพลัดตกหรือการพังทลายของวัสดุ โดยต้องระบุอันตราย วางแผนปฏิบัติงาน ป้องกันและควบคุมความเสี่ยง อบรมลูกจ้างก่อนเริ่มงาน และมีเอกสารให้ตรวจสอบได้ตามกฎหมาย และต้องมีสำเนาเอกสารดังกล่าวไว้ ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
นายจ้างต้องให้วิศวกรจัดทำรายละเอียดคุณลักษณะ
และคู่มือการใช้งาน
ภาพที่ 3 : ทำรายละเอียดคุณลักษณะและคู่มือการใช้งาน
ข้อ 3 ในการประกอบ การติดตั้ง การตรวจสอบ และการใช้อุปกรณ์ป้องกันอันตราย จากการตกจากที่สูงและที่ลาดชัน จากวัสดุกระเด็นตกหล่นหรือฟังทลาย นายจ้างต้องปฏิบัติตามคู่มือการใช้งานและคุณลักษณะของอุปกรณ์ป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง หากไม่มีคู่มือเหล่านี้ นายจ้างต้องให้วิศวกรที่มีใบอนุญาตจัดทำรายละเอียดและคู่มือการใช้งานขึ้นเป็นหนังสือ และมีสำเนาให้พนักงานตรวจความปลอดภัยตรวจสอบได้
นายจ้างต้องจัดให้มี
อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน
ภาพที่ 4 : อุปกรณ์ความปลอดภัยที่มีมาตรฐาน
ข้อ 4 นายจ้างต้องจัดหาอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลที่มีมาตรฐาน เช่น เข็มขัดนิรภัย เชือกนิรภัย หมวกนิรภัย และรองเท้าหุ้มส้น เพื่อป้องกันอันตรายจากการทำงานในที่สูง ที่ลาดชัน หรืออันตรายจากวัสดุตกหล่น โดยต้องมั่นใจว่าลูกจ้างใช้เครื่องมือเหล่านี้อย่างถูกต้อง และหากใช้เข็มขัดนิรภัยหรือเชือกนิรภัย นายจ้างต้องจัดทำจุดยึดตรึงที่มั่นคงและปลอดภัยสำหรับการใช้งาน
ข้อ 5 นายจ้างต้องบำรุงรักษาอุปกรณ์ป้องกันอันตรายและอุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตามมาตรฐานของผู้ผลิต และต้องตรวจสอบสภาพของอุปกรณ์ให้มั่นใจว่ามีความปลอดภัยก่อนใช้งานทุกครั้ง รวมทั้งต้องมีสำเนาเอกสารการบำรุงรักษาและการตรวจสอบไว้ให้พนักงานตรวจความปลอดภัยสามารถตรวจสอบได้
นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก
ภาพที่ 5 : ราวกั้นหรือรั้วกันตก
ข้อ 6 นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตกที่มีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 1 เมตร 10 เซนติเมตร โดยต้องมีความมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย หากใช้แผงทึบแทนราวกั้นหรือรั้วกันตก แผงทึบต้องมีความสูงไม่น้อยกว่า 90 เซนติเมตรเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้น
ข้อ 7 สำเนาเอกสารตามข้อ 2 ข้อ 3 และข้อ 5 จะอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้
การป้องกันอันตรายจากการตกจากที่สูง
และที่ลาดชัน
ภาพที่ 6 : การป้องกันอันตรายจากการ ” งานที่สูง “
ข้อ 8 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้าน หรือดำเนินการด้วยวิธีการอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้าง โดยต้องมีความมั่นคง แข็งแรงและปลอดภัย
ภาพที่ 7 : ลูกจ้างทำงานบนที่สูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป
ข้อ 9 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดทำราวกั้นหรือรั้วกันตก ตาข่ายนิรภัย หรืออุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน พร้อมทั้งจัดให้ลูกจ้างใช้เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงานเพื่อความปลอดภัย
ภาพที่ 8 : การทำงานบนที่สูง ประเภทงานที่มีปล่อง หรือช่องเปิด
ข้อ 10 ในกรณีที่มีปล่องหรือช่องเปิดต่างๆ ซึ่งอาจทำให้ลูกจ้างพลัดตก นายจ้างต้องจัดทำฝาปิดที่แข็งแรง ราวกั้น รั้วกันตก หรือแผงทึบตามข้อ 6 พร้อมทั้งติดป้ายเตือนอันตรายให้เห็นได้อย่างชัดเจน
ข้อ 11 นายจ้างต้องมิให้ลูกจ้างทำงานในที่สูงนอกอาคารหรือพื้นที่เปิดโล่งในขณะที่มีพายุ ลมแรง ฝนตก หรือฟ้าคะนอง เว้นแต่มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำงานเพื่อความปลอดภัยหรือบรรเทาอันตรายที่เกิดขึ้น โดยต้องจัดให้มีมาตรการเพื่อความปลอดภัยของลูกจ้างในกรณีดังกล่าว
ภาพที่ 9 : ทำงานบนที่สูง ประเภทงานใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้าย
ข้อ 12 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดเคลื่อนย้ายได้ในการทำงานที่สูง นายจ้างต้องดูแลการตั้งบันไดให้ระยะระหว่างฐานบันไดกับผนังมีอัตราส่วน 1:4 หรือมีมุมบันไดที่ตรงข้ามผนัง 75 องศา และต้องมีโครงสร้างมั่นคง แข็งแรง ปลอดภัย มีความกว้างไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร พร้อมขาบันไดหรือสิ่งยึดโยงเพื่อป้องกันการลื่นไถลของบันได
ข้อ 13 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่มีความสูงเกิน 6 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องดูแลให้บันไดไต่ชนิดติดตรึงกับที่มีโครงสร้างมั่นคง แข็งแรง และปลอดภัย พร้อมทั้งต้องจัดทำโกร่งบันไดเพื่อป้องกันการพลัดตกของลูกจ้าง
ข้อ 14 ในกรณีที่ลูกจ้างต้องใช้ขาหยั่งหรือม้ายืนเพื่อทำงานในที่สูง นายจ้างต้องดูแล ให้ขาหยั่งหรือม้ายืนนั้นมีโครงสร้างที่มั่นคง แข็งแรงแล ปลอดภัยต่อการใช้งาน และมีพื้นที่สำหรับ ยืนทำงานอย่างเพียงพอ
ภาพที่ 10 : นายจ้างต้องจัดให้มีอุปกรณ์ที่เหมาะสมกับสภาพงาน
ข้อ 15 ในกรณีที่ทำงานบนที่ลาดชันที่มีมุมเกิน 15 องศาแต่ไม่เกิน 30 องศาจากแนวราบ และความสูงของพื้นที่เอียงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านที่เหมาะสม หรือเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยพร้อมอุปกรณ์ป้องกันการพลัดตกที่เหมาะสมกับสภาพการทำงาน
ในกรณีที่ทำงานบนที่ลาดชันที่มีมุมเกิน 30 องศาจากแนวราบ และมีความสูงตั้งแต่ 2 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีนั่งร้านหรือมาตรการป้องกันการพลัดตกอื่น ๆ พร้อมเข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตพร้อมอุปกรณ์
การป้องกันอันตรายจากวัสดุกระเด็น
ตกหล่น และพังทลาย
ภาพที่ 11 : การลำเลียงวัสดุสิ่งของขึ้น หรือลงจากที่สูง
ข้อ 16 ในกรณีที่มีการลำเลียงวัสดุสิ่งของขึ้นหรือลงจากที่สูง หรือลำเลียงวัสดุสิ่งของบนที่สูง นายจ้างต้องจัดให้มีราง ปล่อง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่เหมาะสมในการลำเลียง เพื่อป้องกัน อันตรายจากวัสดุสิ่งของกระเด็นหรือตกหล่น
ภาพที่ 12 : กำหนดเขตอันตรายในพื้นที่อันตราย
ข้อ 17 นายจ้างต้องกำหนดเขตอันตรายในบริเวณที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลายของวัสดุสิ่งของ และติดป้ายเตือนอันตรายในพื้นที่ดังกล่าว พร้อมทั้งจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยจนกว่างานจะเสร็จสิ้น
ข้อ 18 ในกรณีที่มีวัสดุสิ่งของอยู่บนที่สูงที่อาจกระเด็น ตกหล่น หรือฟังทลายลงมาได้ นายจ้างต้องจัดทำขอบกันของตกหรือมาตรการป้องกันอื่นใดที่เหมาะสมกับสภาพของการทำงาน
ข้อ 19 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานบริเวณใกล้เคียงหรือทำงานในสถานที่ที่อาจมีการกระเด็น ตกหล่น หรือพังทลาย ของวัสดุสิ่งของนายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการควบคุมดูแลเพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ลูกจ้างตลอดระยะเวลาการทำงาน
ข้อ 20 นายจ้างต้องจัดเรียงวัสดุสิ่งของในบริเวณที่เก็บหรือกองให้มั่นคงปลอดภัย และทำผนังกั้นหรือใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อป้องกันอันตรายจากการตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของดังกล่าว นอกจากนี้ ในกรณีที่มีการเคลื่อนย้ายวัสดุสิ่งของ นายจ้างต้องจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายจากการตกหล่นหรือพังทลายของวัสดุสิ่งของที่จะทำการเคลื่อนย้ายด้วย
ข้อ 21 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในท่อ ช่อง โพรง บ่อ หรือสถานที่อื่นใด ที่อาจเกิดการพังทลายได้ ให้นายจ้างจัดทำผนังกั้น ค้ำยัน หรือใช้วิธีการอื่นใดที่สามารถป้องกัน อันตรายจากการพังทลายที่อาจเกิดขึ้นนั้นได้
การป้องกันอันตรายจากการตกลงไป
ในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ
ภาพที่ 13 : ลูกจ้างที่ทำงานบนที่สูง ได้รับอันตรายจากการพลัดตก
ข้อ 22 ในกรณีที่ลูกจ้างทำงานในบริเวณหรือสถานที่ที่อาจทำให้เกิดอันตรายจากการพลัดตกลงไปในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย หรือสิ่งอื่นๆ นายจ้างต้องจัดให้มีสิ่งปิดกั้นที่มั่นคงแข็งแรง และทำราวกันตกหรือรั้วกันตกที่มั่นคงแข็งแรงล้อมรอบภาชนะนั้น เพื่อป้องกันการพลัดตก หากไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวได้ นายจ้างต้องให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน
ข้อ 23 นายจ้างไม่ควรให้ลูกจ้างทำงานบนภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุ เช่น ถัง บ่อ กรวย หรือสิ่งอื่นใดที่อาจทำให้ลูกจ้างพลัดตก เว้นแต่นายจ้างได้จัดให้มีสิ่งปิดกั้น หรือราวกันตกที่มั่นคงแข็งแรง หรือจัดให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยหรือสายช่วยชีวิตตลอดระยะเวลาการทำงาน หากลูกจ้างต้องทำงานในภาชนะเก็บหรือรองรับวัสดุที่มีความสูงตั้งแต่ 4 เมตรขึ้นไป นายจ้างต้องจัดให้มีราวกันตกหรือสิ่งป้องกันที่มั่นคงแข็งแรง และให้ลูกจ้างสวมใส่เข็มขัดนิรภัยและเชือกนิรภัยตลอดการทำงาน
การปฏิบัติงานใดๆ ก็ตามในบริเวณที่มีความต่างระดับของพื้นที่ทำงาน และมีโอกาสที่บุคคล หรือวัสดุจะตกจากที่สูงจากระดับหนึ่งสู่ระดับที่ต่ำกว่า เช่น บ่อ หลุม ช่องเปิด หลังคา บริเวณที่มีทางขึ้น-ลง หรือบันได บริเวณลาดชัน พื้นที่สูงที่มีพื้นผิวไม่แข็งแรงมั่นคงหรือลื่น เป็นต้น นายจ้างและลูกจ้างจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยในการทำงานทุกขั้นตอน เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวลูกจ้างและนายจ้างเอง รวมถึงการปฏิบัติงานให้ถูกต้องตามกฏหมายด้วย
เพราะฉะนั้น การทำงานบนที่สูง จึงมีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอันตรายเป็นอย่างมาก ถ้าไม่มีการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคล ดังนั้นควรที่จะมีการตรวจสอบอย่างเคร่งครัดก่อนให้ลูกจ้างเริ่มปฏิบัติงาน เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต โดยนายจ้างต้องเน้นย้ำเรื่องการสวมใส่อุปกรณ์คุ้มครองความปลอดภัยส่วนบุคคลตลอดระยะเวลาปฏิบัติงาน
ภาพที่ 14 : Jorpor Plus มีความสำคัญอย่างไรใน งานที่สูง
อีกหนึ่งสิ่งที่ช่วยให้นายจ้างสามารถตรวจสอบความพร้อมของความปลอดภัยก่อนเริ่มปฏิบัติงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังปฏิบัติงาน คือ ระบบจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) ของ Jorpor Plus ช่วยให้การขออนุญาตทำงานบนที่สูงที่มีความเสี่ยง มีความสะดวกและรวดเร็วผ่านระบบออนไลน์ เจ้าของงานและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยสามารถตรวจสอบเอกสาร อนุมัติแบบเรียลไทม์ ประเมินความเสี่ยง และจัดการอบรมความปลอดภัยในที่เดียว ช่วยลดขั้นตอน เพิ่มความโปร่งใส และเสริมความปลอดภัยในการทำงาน มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
คุณนรีพร ใสสม (ส้มโอ)
Nareeporn@factorium.tech
065-9647198
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8