ขออนุญาตทำงาน (Work permit) คืออะไร
Work permit หรือการขออนุญาตทำงาน หมายถึง การขออนุญาตผู้ที่เกี่ยวข้องในการทำงานที่มีความเสี่ยงต่างๆ งานที่มีโอกาสเกิดอุบัติเหตุ หรืออันตรายต่อผู้ปฏิบัติงาน หรือเพื่อนร่วมงานสูงหรืองานที่อาจก่อให้เกิดอัคคีภัยได้ง่าย เช่น การทำงานที่ก่อให้เกิดความร้อน (Hot Work) ซึ่งเป็นงานที่ทำให้เกิดความร้อนหรือประกายไฟขณะปฏิบัติงาน เช่น งานตัดและเชื่อมโลหะด้วยเครื่องเชื่อมไฟฟ้า หรือเชื่อมแก๊ส และงานที่ต้องใช้เครื่องเจียรนัย เป็นต้น, การทำงานบริเวณที่อับอากาศ, การทำงานบนที่สูงเกิน 3 เมตร, งานเกี่ยวกับระบบท่อมีความดันสุง ท่อไอน้ำ ท่อสารเคมี หรือสารไวไฟ, งานฉายรังสี (X-ray) งานก่อสร้าง,การซ่อม บำรุงเครื่องจักร บริเวณที่มีอันตรายหรือเครื่องจักร อื่นยังไม่หยุด การทำงานบริเวณที่มีเสียงดัง ความดันสูง เกิดการสั่นสะเทือนมาก หรือมีสารเคมีอันตราย ผู้ปฎิบัติงานจะต้องมีความเข้าใจ และยึดถือเป็นหลักปฏิบัติ เพื่อก่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงานกับทุกคน
ภาพที่ 1 : ขออนุญาตทำงาน คืออะไร
ประเภทงานความเสี่ยงที่ต้องขออนุญาตทำงาน
ภาพที่ 2 : ประเภทงานความเสี่ยงที่ต้องขออนุญาตก่อนทำงาน
1) งานทั่วไป
2) งานที่ทำให้เกิดความร้อนและประกายไฟ
3) งานในสถานที่อับอากาศ
4) งานบนที่สูง
5) งานกับระบบไฟฟ้า
6) งานขุดเจาะ
7) งานที่เกี่ยวข้องกับสารเคมี
8) งานเสี่ยงลักษณะอื่นที่ทำให้เกิดอันตรายถึงขั้นรุนแรง เป็นต้น
วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้พนักงานทราบขั้นตอนการขออนุญาตก่อนเริ่มงานเสี่ยงอันตราย
2) เพื่อให้สามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยก่อนเริ่มงานเสี่ยงอันตราย
3) เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ผู้ที่เกี่ยวข้องในการขออนุญาตทำงาน
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการขออนุญาตทำงาน Work permit
ผู้ที่เกี่ยวข้องในระบบการขออนุญาตก่อนเริ่มงานประกอบด้วยผู้มีส่วนร่วม ดังนี้
ภาพที่ 3 : หน้าที่ของผู้ปฏิบัติงาน
1) ผู้ปฏิบัติงาน : ผู้ขออนุญาตเป็นคนไปขออนุญาตปฎิบัติงานกับเจ้าของงานหรือเจ้าของพื้นที่นั้นๆ ในการพิจารณาที่จะอนุญาตให้มีการเริ่มงานหรือปฏิบัติงานนั้น
ภาพที่ 4 : หน้าที่ของเจ้าของพื้นที่ หรือเจ้าของงาน
2) เจ้าของพื้นที่หรือเจ้าของงาน : ผู้ที่ดำเนินการตรวจสอบว่าพื้นที่ หรือสิ่งใดที่ต้องได้รับการแก้ไข ให้ดำเนินการแจ้งจป และผู้ปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขสิ่งนั้น โดยเจ้าของงานจะต้องตรวจสอบความพร้อมของผู้ปฏิบัติงาน อุปกรณ์รวมถึงวิธีการทำงานที่ถูกต้อง
ภาพที่ 5 : หน้าที่ของเจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป)
3) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (จป) : ผู้ที่จะต้องทำการตรวจสอบว่าพนักงานที่มาขอปฎิบัติงานมีความพร้อม และมีการตรวจสอบอุปกรณ์ต้องมีมาตรฐานมีความปลอดภัยไม่มีการชำรุดหรือเสียหาย และต้องอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานและทำการให้ผู้ปฏิบัติงานขออนุญาตการเข้าทำงานที่มีความเสี่ยง รวมไปถึงผู้ปฏิบัติงานมีการกำหนดให้มีผู้ควบคุมงานตามที่กฎหมายได้กำหนดให้ในสถานประกอบกิจการ
อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นหากไม่มีการขออนุญาตทำงาน
ภาพที่ 6 : อันตรายที่เกิด หากไม่มีการขออนุญาตก่อนทำงาน
หากไม่มีการขออนุญาตทำงานเสี่ยง อาจไม่มีการตรวจสอบสภาพความพร้อม ไม่มีการประเมินความเสี่ยงในการทำงาน ไม่มีมาตรการความปลอดภัย ซึ่งส่งผลให้มีอันตรายที่อาจจะเกิดอุบัติเหตุต่อชีวิตและทรัพย์สินได้ เช่น ไฟไหม้ ตกจากที่สูง ขาดอากาศหายใจ เครนหรือปั้นจั่นล้มทับอาคาร/คน สัมผัสกับสารเคมีอันตราย
เพื่อเป็นการป้องกันและลดการประสบอันตรายที่จะเกิดกับลูกจ้างและผู้ที่ปฏิบัติงานตาม พรบ.ความปลอดภัย 2554 บังคับให้สถานประกอบการทุกแห่งจัดให้มีมาตรการป้องกันอันตรายเพื่อไม่ให้ลูกจ้างได้รับอันตรายหรือเกิดอุบัติเหตุในงานเสี่ยงอันตรายต่างๆ
ดังนั้นเพื่อปฏิบัติให้สอดคล้องตามที่กฎหมายกำหนด และลดการประสบอันตรายภายในองค์กร เจ้าของงานและจป จะต้องอบรมผู้ปฏิบัติงานให้รู้หลักความปลอดภัยในการทำงาน ตรวจเช็คอุปกรณ์ในการทำงานให้ได้มาตรฐานก่อนเข้างาน รวมถึงต้องมีการขออนุญาตทำงานกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับทุกหน่วยงานที่มีการทำงานเสี่ยงอันตรายในพื้นที่องค์กร
ฉนั้นเพื่อให้การทำงานนั้นง่าย และสะดวกรวดเร็ว Jorpor Plus มีตัวช่วยเจ้าของงาน ผู้ปฏิบัติงาน และจป ได้มีการทำงานที่ง่ายและปลอดภัยยิ่งขึ้น อย่างระบบการจัดการใบอนุญาตเข้าทำงาน (EWS) จาก Jorpor Plus ที่ให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถอบรมความปลอดภัยก่อนเข้าทำงาน Online และยังสามารถประเมินความเสี่ยงในการทำงานทั้งก่อน ระหว่าง และหลังปฏิบัติงานได้อีกด้วย ทาง Jorpor Plus พร้อมให้คำแนะนำและคำปรึกษาฟรี การันตีใครๆ ก็ใช้เป็น มีทดลองให้ใช้ฟรีแล้ว กดคลิก ได้เลย
ให้คำปรึกษาฟรี!!!
คุณชัญญา เพชรมณีโชติ (แนน)
chunya@factorium.tech
061-546961
Website: https://www.jorporplus.com/
Facebook: https://www.facebook.com/JorPorPlus
Line Official : https://lin.ee/dOulra8
Youtube: https://www.youtube.com/playlist?list=PL0b92T8M8rKX1jrpbfpBgozl6Dk3y-nu8